น้ำตาลในเลือดสูง ทำอย่างไรก่อนเป็นโรคเบาหวาน
น้ำตาลในเลือดสูง ทำอย่างไรก่อนเป็นโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในโลหิตเกินกว่า 100  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผู้ป่วยเบาหวานจะมีค่าระดับอยู่ที่ 126 ขึ้นไป ดังนั้นหากอยู่ในช่วง 100-125 ควรทำการพบแพทย์ เพื่อหาวิธีรักษาก่อนที่จะเป็นโรคเบาหวาน เพราะถ้าหากปล่อยไว้ มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เส้นประสาท และหลอดเลือดต่างๆ ถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือเท้า ไตวาย หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมอง หรือต้องสูญเสียดวงตา ทุพพลภาพตลอดชีวิต

 

 

สาเหตุภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

 

พฤติกรรม

 

  • ความเครียด

 

  • รับประทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป

 

  • ไม่ออกกำลังกาย

 

การรับประทานยา

 

  • ยาคุมกำเนิด

 

  • สเตียรอยด์

 

  • ยากดภูมิต้านทาน

 

  • Prednisone

 

  • Beta Blocker

 

  • Glucagon

 

โรค หรือภาวะความผิดปกติ

 

  • โรคตับ เช่น ตับอ่อนอักเสบ และมะเร็งตับ

 

  • ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

 

  • มีฮอร์โมนคอร์ติซอลในโลหิตมาก

 

  • หัวใจวาย

 

  • หลอดเลือดในสมองตีบ แตก

 

 

อาการภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

 

แรกเริ่ม

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • มีปัญหาทางสายตา

 

  • ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย

 

  • เหนื่อยง่าย

 

  • หิวน้ำบ่อย

 

หลังจากนั้นร่างกายจะเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการสะสมของสารคีโตน (Ketones) จะมีอาการดังนี้

 

  • เบลอ

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • ปากแห้ง แตก

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • น้ำหนักตัวลดลง

 

  • แผลหายช้า

 

  • บริเวณเท้าชา ไม่มีความรู้สึก

 

  • ผิวหนังติดเชื้อ

 

  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

 

 

เจาะเลือดตรวจเบาหวาน

 

 

การวินิจฉัยน้ำตาลในเลือดสูง

 

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

 

  • สุ่มตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

 

  • ตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม

 

  • ทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด

 

การตรวจเหล่านี้ในข้างต้นมักจะอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลทั่วไป

 

 

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

 

  • แพทย์จะให้ฮอร์โมนอินซูลินเป็นหลัก

 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

 

  • ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

 

  • ใช้สารเพิ่มความหวานแทนน้ำตาล เช่น แอสปาร์แตม (Aspartame)

 

  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ

 

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เว้นผู้ที่ภาวะเลือดเป็นกรด

 

  • จดบันทึกค่าจากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูความเปลี่ยนแปลง

 

 

ออกกำลังกาย

 

 

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

 

  • รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ

 

  • เล่นกีฬา หรือเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ

 

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และปัสสาวะเป็นประจำ

 

  • หลีกเลี่ยงการหยุดยา หากมีความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์

 

  • หากเข้ารับบริการที่สถานพยาบาล ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าน้ำตาลในโลหิตสูง

 

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมักจะไม่แสดงอาการความผิดปกติในระยะแรกๆ จะต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลถึงจะรู้ผล ว่ามีความเสี่ยง หรือเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ อีกทั้งการใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกลดระดับน้ำตาล ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะใบกระท่อม หากนำมาต้ม เคี้ยวสด หรือวิธีการใดก็ตาม องค์การอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration) ยังไม่อนุมัติให้ใช้พืชชนิดนี้รักษาโรคเบาหวาน



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน