น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะที่ร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน
น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะที่ร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายเกิดความไม่สมดุลจากการรับประทานอาหาร การใช้ยา รวมถึงการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ โดยที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พยายามควบคุมระดับน้ำตาล ทำให้รับประทานอาหารได้ในปริมาณน้อย และออกกำลังกายหนัก ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อีกทั้งหากมีอาการรุนแรง สามารถเกิดอาการชัก หมดสติ และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

  • การได้รับยารักษาเบาหวานที่ไม่เหมาะสม

 

  • การรับประทานอาหารปริมาณไม่เพียงพอต่อร่างกาย

 

  • ร่างกายได้รับกลูโคส (Glucose Utilization) มากเกินไป

 

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

 

  • ความบกพร่องของฮอร์โมน เช่น ต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง ทำให้เกิดความบกพร่องของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตกลูโคส

 

  • เนื้องอกของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน (Insulinoma) ทำให้เกิดการผลิตอินซูลินที่มากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

  • โรคตับที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคตับอักเสบรุนแรง

 

 

อาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

  • หิวบ่อย

 

  • ความดันโลหิตซิสโตลิคสูง

 

  • หัวใจเต้นเร็ว

 

  • รอบๆ ปาก มีอาการชา

 

  • มือสั่น

 

  • เหงื่อกมากผิดปกติ

 

หากสมองขาดกลูโคส จะมีอาการดังนี้

 

  • วิงเวียนศีรษะ และปวดศีรษะ

 

  • อุณหภูมิร่างกายต่ำ

 

  • ปฏิกิริยาตอบสนองช้า เช่น ขาดสมาธิ พูดช้า ง่วงซึม

 

  • อัมพฤกษ์ครึ่งซีก

 

  • ชัก

 

  • หมดสติ

 

 

การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการภายนอกของผู้ป่วย โดยการ

 

  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

           

  • หากรับประทานอาหารหวาน และไม่มีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

           

  • สอบถามประวัติของผู้ป่วยเพิ่มเติม

 

 

การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นจนกลับมาสู่ภาวะปกติ การบริโภคคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrates) ปริมาณ 15-20 กรัม เช่น

         

  • การรับประทานน้ำผึ้ง หรือน้ำตาล ประมาณ 1 ช้อนชา

 

  • ดื่มน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน ปริมาณ 120 มิลลิลิตร จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น

 

  • รับประทานลูกอมกลูโคส

 

หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานได้ แพทย์จะทำการฉีดกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

 

 

ใช้ยาและอินซูลินอย่างเหมาะสม

 

 

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวางแผนในการรับประทานอาหารว่าควรเพิ่ม หรือลดสารอาหารประเภทใด รวมทั้งการออกกำลังกาย

 

  • รับประทานอาหารว่าง ด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ในปริมาณเหมาะสม

 

  • ตรวจสอบปริมาณยารักษาเบาหวาน และอินซูลิน

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

โดยปกติแล้วหากน้ำตาลในเลือดลดลง ร่างกายจะมีกลไกเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในร่างกาย ผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ และฮอร์โมน เช่นใช้ glycogen ที่สะสมอยู่ที่ตับ ใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้แทน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับยารักษาโรคเบาหวาน จะมีกลไกช่วยเหลือของร่างกายที่ไม่เพียงพอ สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกายได้



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน