IF ผิดวิธี ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคได้นะ
IF ผิดวิธี ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคได้นะ

IF หรือ Intermittent Fasting คือการลดน้ำหนักควบคุมแคลอรี โดยจำกัดเวลาในการรับประทาน (Feeding) และอดอาหาร (Fasting) เช่น บริโภคข้าว ก๋วยเตี๋ยว ผลไม้ หรือขนมอะไรตาม ตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 16.00 น. หลังจากนั้นจะดื่มน้ำเปล่า อาจจะเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลก็ได้ สามารถรับประทานได้อีกทีตอน 8 โมงเช้าของวันถัดไป การทำ IF ให้สำเร็จต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยทางร่างกายของแต่ละบุคคล เพราะถ้าหากทำผิดวิธี มีความเสี่ยงเป็นโรค หรือภาวะผิดปกติ

 

 

IF มีกี่แบบ

 

Lean Gains

 

  • การงดอาหาร 16 ชั่วโมง และรับประทาน 8 ชั่วโมง หรือ 16/8 เป็นวิธีที่นิยมมากสุด

 

Alternate Day Fasting

 

  • คล้ายกับสูตรด้านบน เพียงแต่ว่างดอาหาร วันเว้นวัน สลับกับการรับประทานอาหาร 3 มื้อแบบปกติ

 

Eat Stop Eat

 

  • คล้ายกับสูตรที่ 2 ข้างต้น แต่จะงดอาหาร 2 วัน ต่อ 1 สัปดาห์

 

 

หลักการลดน้ำหนักแบบ IF

 

การกำหนดเวลามากกว่ารูปแบบในการรับประทานอาหาร ทำให้ลดปริมาณอาหาร และพลังงานที่ได้รับ ร่างกายของผู้ที่ทำ  IF จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินน้อยลง โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) และนอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) ที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานไขมัน โดยไม่เสียมวลกล้ามเนื้อ ก็จะหลั่งเพิ่มยิ่งขึ้น ทำให้การเปลี่ยนน้ำตาลในโลหิตไปเป็นไขมันลดลง และการกักเก็บไขมันใต้ผิวหนัง รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลง

 

 

ประโยชน์จากการทำ IF

 

  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และอัลไซเมอร์

 

  • การลดลงของอนุมูลอิสระ และการอักเสบภายในร่างกาย

 

  • อ่อนกว่าวัย ผิวพรรณสดใส

 

  • ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ

 

  • ส่งเสริมการทำงานของสมอง

 

  • มีความจำดีขึ้น เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ไว

 

 

อดอาหารเสียสุขภาพ

 

 

ข้อเสียจากการทำ IF

 

มักจะเกิดจากการปฏิบัติผิดวิธี ได้แก่

 

  • เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร

 

  • อาจจะรับประทานอาหารในปริมาณมากเกินไป

 

  • ปัญหาตรงบริเวณลำไส้ หากทำผิดเวลา

 

  • การทำงานระบบเผาผลาญผิดปกติ

 

  • เกิดอาการโหยน้ำตาล กลับมารับประทานรสหวานมากกว่าปกติ

 

  • สำหรับผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคกระเพาะอาหาร อาจทำให้มีอาการกำเริบ หรือผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารได้

 

 

วิธีทำ IF แบบถูกต้อง

 

  • วางแผนเวลาในการรับประทาน  โดยไม่ตรงกับเวลาดึก

 

  • บริโภคอาหารในปริมาณที่พอดี

 

  • ช่วงเวลารับประทานอาหาร  ควรบริโภคผัก ผลไม้ อาหารที่โปรตีนสูง ไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงการงดคาร์โบไฮเดรต

 

  • ไม่รับประทานของหวานอย่างเด็ดขาด

 

  • ออกกำลังกายระยะเวลา 30 นาทีขึ้นไป สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง

 

 

ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยการทำ IF จะต้องปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่โภชนาการก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วย เพื่อความปลอดภัย เพราะระดับวิตามินแร่ธาตุในโลหิต ระดับฮอร์โมนในร่างกายของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน หากทำโดยพลการอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้