ผ่าตัดข้อเข่าเทียม
ไร้กังวลเรื่องข้อเข่าด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม เป็นวิธีการรักษาโรคที่เกี่ยวกับข้อเข่าในผู้สูงอายุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม, ข้ออักเสบ และข้ออักเสบจากอุบัติเหตุ โดยระยะเวลาของข้อเข่าเทียมจะมีอายุประมาณ 15-20 ปี

 

 

บุคคลที่ควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ถ้ามีการผ่าตัดก่อนอายุ 40 ปี อาจจะมีครั้งต่อไปตามมา เนื่องจากอุปกรณ์มีโอกาสที่จะสึกหรอตามระยะเวลาได้

      

  • ข้อเข่ามีการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น เข่าผิดรูป, ไม่สามารถเหยียด หรืองอเข่าได้

 

 

ปวดเข่า

 

 

  • ผู้ที่มีอาการปวดเข่า 

      

  • ผู้ที่เคยรักษาข้อเข่าด้วยวิธีอื่น ๆ แต่ไม่สามารถหายได้

 

 

ชนิดของข้อเข่าเทียม

 

 

ชนิดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด 

 

เป็นการตัดผิวข้อทั้งส่วนปลายต้นขา Femur หรือส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง Tibia และแทนที่ด้วยผิวโลหะ โดยมีแผ่นพลาสติกกั้น

 

 

ชนิดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน  

 

เป็นการเปลี่ยนผิวทั้งด้านต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง เฉพาะด้านที่มีอาการเสื่อม เรียกว่า Unicompartmental Knee Replacement

 

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

  • ตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะ และเอกซเรย์

 

 

ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน

 

 

  • เตรียมสิ่งของ และบุคคลไว้ช่วยเหลือหลังผ่าตัด เช่น การติดตั้งราวไว้ช่วยพยุงเดิน เป็นต้น

 

  • ตรวจดูผิวหนังบริเวณเข่า และขา

      

  • การเตรียมเลือด แนะนำให้ผู้ป่วยบริจาคเลือดของตัวเองไว้ใช้ในการผ่าตัด ควรบริจาค 3–4 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด

 

 

ข้อห้ามสำหรับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

  • ผู้ที่มีการติดเชื้อภายในร่างกาย เช่น การติดเชื้อภายในช่องปาก เป็นต้น

 

  • ผู้ที่ติดเชื้อในเข่า และยังรักษาไม่หาย

 

  • ผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม และสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทรับความรู้สึก

 

  • ผู้ที่เกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อม และกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง

 

 

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

  • การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง โดยการตัดเอาผิวข้อที่เสียออก และใช้ผิวข้อเทียมที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งมีส่วนพลาสติกกั้นระหว่างผิวโลหะ เพื่อป้องกันการกระแทก และลดแรงเสียดสีระหว่างผิวข้อ ผู้ป่วยจะอยู่ในห้องพักฟื้นเป็นเวลา 1–2  ชั่วโมง หลังผ่าตัด

      

  • หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม 2-3 วัน แพทย์จะให้ผู้ป่วยบริหารเข่า เช่น ลุก-ยืน และหัดเดินพร้อมกับนักกายภาพบำบัด

      

  • เมื่อผู้ป่วยเริ่มช่วยตัวเองได้ ไม่มีอาการติดเชื้อ ให้ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด หากอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 5–7 วันแล้ว

 

 

การดูแลหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

 

เดินออกกำลังกาย

 

 

  • การเดินออกกำลังกาย ในช่วงหลังการผ่าตัดช่วงแรก ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน และหากมีอาการเจ็บไม่ควรที่จะฝืนเดินต่อ

 

  • หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ 

 

  • ไม่ควรเคลื่อนไหวเร็วเกินไป

 

  • อย่างอเข่ามาก, หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • พบแพทย์ตามนัด เป็นการติดตามอาการ และผลข้างเคียง เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

 

ประโยชน์ของการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

 

  • แก้ปัญหาเรื่องข้อเข่าผิดรูป

 

 

ลดอาการปวดข้อเข่า

 

 

  • ลดอาการปวดข้อเข่า

 

  • แก้ไขอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีอื่น 

 

  • การป้องกันการเสื่อมเรื่องข้ออื่น ๆ ที่จะตามมา

 

 

ปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดินได้ภายในหนึ่งวันหลังผ่าตัด ถ้าหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ จะทำให้ระยะพักฟื้น และระยะการนอนโรงพยาบาลสั้นลง



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement)

 

ข้อเข่าเสื่อม โรคที่อาจไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพียงวัยเดียว