โรคคาวาซากิ
โรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) คือ โรคที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ในประเทศพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ มักมีอาการไข้ขึ้นสูง ร่วมกับการอักเสบของเยื่อบุผิวหนัง หลอดเลือด และต่อมน้ำเหลือง สำหรับประเทศไทยมีการพบผู้ป่วยมากขึ้น

 

 

อาการของโรคคาวาซากิ

 

จะแสดงอาการ 6 สัปดาห์ โดยประมาณ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

 

ระยะเฉียบพลัน

 

เกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก จะมีอาการของโรคที่รุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันได้แก่

      

  • ไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส

      

  • เกิดผื่นแดงขึ้นที่อวัยวะเพศลามไปยังลำตัว และใบหน้า

      

  • มือ และเท้ามีอาการบวม อาจมีผิวหนังลอกตามฝ่ามือ และฝ่าเท้า

      

  • ตาบวมแดง

      

  • ริมฝีปากแห้ง แตก และลอก มีการอักเสบในช่องปาก ลิ้นเป็นตุ่มบวม แดงคล้ายสตรอว์เบอร์รี

      

  • ต่อมน้ำเหลืองโตที่ลำคอ เมื่อมีอาการบวมจะทำให้รู้สึก เจ็บ และตึง

      

  • ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็ว และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

 

ระยะกึ่งเฉียบพลัน

 

เกิดขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์ จะมีไข้ขึ้นสูง ความรุนแรงของอาการในระยะเฉียบพลันลดน้อยลง จะมีอาการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นได้แก่

 

  • อาเจียน

 

  • ปวดท้อง

 

  • ท้องเสีย

 

  • ปวดตามข้อ

 

  • ตาเหลือง

 

  • ง่วงซึม

 

  • ปัสสาวะเป็นหนอง

 

  • มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนได้กว่าระยะอื่นๆ

 

ระยะพักฟื้น

 

เกิดขึ้นในช่วง 5-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการที่ดีขึ้น แต่จะมีอาการอ่อนแรง และเหนื่อยง่ายอยู่

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคคาวาซากิ

 

  • การติดเชื้อ ลักษณะใกล้เคียงกับติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย

 

  • ชาติพันธุ์ โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้

 

  • ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำลายเนื้อเยื่อ และอวัยวะในร่างกาย

 

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา และสารเคมี

 

 

การรักษาโรคคาวาซากิ

 

  • การให้อิมมิวโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ทางหลอดเลือดดำ เป็นแอนติบอดีกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ช่วยลดปฏิกิริยาการอักเสบในร่างกาย และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

 

  • การใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) เพื่อบรรเทาอาการปวด บวม ลดไข้ และการอุดตันของเกล็ดเลือด ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจ

 

 

คาวาซากิ

 

 

การป้องกันโรคคาวาซากิ

 

สาเหตุของการเกิดโรคคาวาซากิยังไม่แน่ชัด ยังไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ทำได้เพียงแค่การลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้ ด้วยการรักษาที่ถูกต้อง และทันเวลา

 

 

ที่มาของชื่อโรคคาวาซากินี้ เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติแก่ นายแพทย์ Tomisaku Kawasaki กุมารแพทย์ชาวญี่ปุ่น ผู้ค้นพบโรคนี้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

กุมารเวช