กล่องเสียงอักเสบ ภาวะที่มักจะเกิดกับผู้ที่ชอบร้องเพลง
กล่องเสียงอักเสบ ภาวะที่มักจะเกิดกับผู้ที่ชอบร้องเพลง

กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)สายเสียงอักเสบ คือ  ภาวะอักเสบของกล่องเสียงมักจะเกิดจากการใช้เสียงมากเกินไป และการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เป็นภาวะที่มักจะเกิดกับผู้ที่ชอบร้องเพลง หรือนักร้อง  ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ประเภท กล่องเสียงอักเสบชนิดเฉียบพลัน และกล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง

 

 

สาเหตุของกล่องเสียงอักเสบ

 

กล่องเสียงอักเสบชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการติดต่อกันเพียงไม่กี่วัน

 

  • ติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย

 

  • ใช้เสียงมากเกินไปหรือใช้เสียงผิดวิธี

 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

 

กล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง เป็นการอักเสบนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

 

  • มลพิษทางอากาศ

 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่

 

  • เกิดติ่งเนื้อหรือตุ่มเล็ก ๆ ที่เส้นเสียง จากการระคายเคืองเรื้อรัง ทำให้เส้นเสียงไม่สามารถสั่นได้ตามปกติ

 

  • ใช้เครื่องพ่นยาทางจมูกติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

  • ใช้เสียงมากเกินไป หรือใช้เสียงผิดวิธี

 

  • ไออย่างเรื้อรัง

 

  • กรดไหลย้อน 

 

  • ภาวะเส้นเสียงอัมพาต หรือเป็นมะเร็งกล่องเสียง

 

 

อาการของกล่องเสียงอักเสบ

 

  • เสียงแหบ เสียงหาย

 

  • เจ็บคอ เจ็บขณะเปล่งเสียง

 

  • พูดไม่ชัด

 

  • ระคายเคืองในคอ

 

  • ไอ หรือเสมหะร่วมด้วย

 

  • อาจมีไข้ต่ำ

 

 

การวินิจฉัยกล่องเสียงอักเสบ

 

เบื้องต้นแพทย์จะคลำตรวจบริเวณลำคอว่ามีอาการเจ็บ หรือมีก้อนบวมหรือไม่ รวมทั้งตรวจดูความผิดปกติอื่นๆ โดยใช้กระจกขนาดเล็กส่องดูภายในบริเวณจมูก ปาก และคอ แพทย์ซักถามอาการและพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลังจากนั้นก็จะวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ อย่างละเอียด

 

ตรวจด้วยการส่องกล้อง

 

  • ใช้ยาชาเฉพาะที่พ่นเข้าไปบริเวณลำคอ จากนั้นรอประมาณ 1 – 2 นาที แพทย์จะใช้เครื่องมือเข้าไปตรวจล้องที่ใช้ในการส่องทางกล่องเสียงมี 2 ประเภทกล้องแบบแข็ง (Rigid Endoscope) และกล้องแบบอ่อน (Fiber Optic Laryngoscope)

 

การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ

 

  • โดยแพทย์จะนำสำลีก้านขนาดใหญ่ป้ายเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือสารคัดหลั่งออกมาส่งตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ

 

การตรวจกล่องเสียงด้วย Stroboscope

 

  • เครื่องมือที่ใช้ร่วมกับการส่องกล้อง มีการถ่ายภาพภายในกล่องเสียง ภาพจะถูกนำมาประมวลภายในเครื่อง Stroboscope แสดงให้เห็นภาพทางจอโทรทัศน์

 

 

การรักษากล่องเสียงอักเสบ

 

ผู้ป่วยกล่องเสียงอักเสบชนิดเฉียบพลัน และไม่มีอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยา และปรับพฤติกรรม

 

  • หากมีอาการปวดหัว เป็นไข้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดอย่าง ยาไอบูโพรเฟน หรือพาราเซตามอล

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้คัดจมูก เพราะอาจทำให้คอแห้ง

 

  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น

 

  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน

 

  • พูดหรือใช้เสียงเท่าที่จำเป็น

 

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

 

ผู้ป่วยกล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาบรรเทาอาการอักเสบ

 

  • ยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล่องเสียงอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ใช้เพื่อบรรเทาอาการอักเสบของเส้นเสียงมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้เสียงอย่างเร่งด่วน

 

 

Laryngitis

 

 

การป้องกันกล่องเสียงอักเสบ

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นธัญพืช ผัก และผลไม้

 

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการสูดดมควันบุหรี่

 

  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

 

  • หลีกเลี่ยงการตะโกน หรือพูดเสียงดัง

 

  • หลีกเลี่ยงการขากเสมหะ

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดหรือผู้ที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

 

  • รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

 

หากมีอาการของภาวะกล่องเสียงอักเสบรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้หายโดยเร็ว โดยเฉพาะกล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น หรือเชื้อเกิดการลุกลามไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนอื่นๆ อาจนำไปสู่ภาวะเส้นเสียงเป็นอัมพาต หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบได้เช่นกัน