แพ้ยาสลบ เรื่องที่ควรทราบก่อนเข้ารับหัตถการศัลยกรรม
แพ้ยาสลบ เรื่องที่ควรทราบก่อนเข้ารับหัตถการศัลยกรรม

แพ้ยาสลบ (Malignant Hyperthermia) คือ ภาวะไข้สูงอย่างรุนแรง เมื่อรับการระงับความรู้สึกที่มีการใช้ยาสลบหรือยาหย่อนกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางร่างกายจากกระบวนการเมตาบอลิซึมสูง จนไม่ควบคุมแคลเซียมบริเวณกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะเห็นกันในข่าวตามสื่อต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้ผู้เข้ารับการเสริมจมูกหรือหัตถการอื่น ในคลินิกศัลยกรรม หรือทันตกรรมเสียชีวิตลง 

 

 

สาเหตุแพ้ยาสลบ

 

กรรมพันธุ์

 

ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนเด่น มีการแสดงออกแบบไม่สมบูรณ์หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงของยีน ซึ่งความเสี่ยงจะมากน้อยเพียงใด สามารถแบ่งได้ตามลำดับญาติของผู้ป่วย ได้แก่

 

  • อันดับ 1 บิดา มารดา บุตร พี่ น้อง โอกาสเป็นภาวะนี้ 50 %

 

  • อันดับที่ 2 หลาน ป้า น้า อา ลุง เสี่ยงเป็น 25 %

 

  • ลำดับ 3 ลูกของญาติ อาจเกิดได้ถึง 12.5 %

 

 

 

โคม่า

 

อาการแพ้ยาสลบ

 

หลังจากได้รับยาสลบแล้วเพียงไม่กี่ชั่วโมง มักจะแสดงความผิดปกติดังนี้

 

  • กล้ามเนื้อเกร็งต่อเนื่องโดยไม่คลายตัว

 

  • เป็นไข้สูงกว่าปกติ

 

  • เหงื่อออก

 

  • การหายใจเร็วหอบ

 

  • ชีพจรและหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

  • ผิวเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ

 

  • ปัสสาวะไหลมีปริมาณน้อย ออกมาเป็นสีน้ำตาลเข้ม

 

  • โลหิตไหลเวียนช้าหรือมีออกมาจากร่างกาย

 

  • ความดันต่ำ

 

  • เสียชีวิต

 

 

ตรวจเลือด

 

 

การวินิจฉัยแพ้ยาสลบ

 

ขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย อาการที่แสดงออกถึงความเสี่ยงต่อภาวะนี้ ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น

 

การตรวจกล้ามเนื้อหดตัวโดยกระตุ้นด้วยการยาดมสลบ (Caffeine Halothane Contracture Test)

 

  • เป็นวิธีมาตรฐานที่ตัดชิ้นเนื้อตรวจกับยาสลบในห้องทดลอง IVCT หรือ In-Vtro Contraction Test ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีรองรับห้องนี้

 

การเจาะเลือดส่งตรวจ

 

  • เพื่อศึกษาทางพันธุกรรมโดยการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของยีน ที่มีความไวและความจำเพาะต่ำ ในห้องปฏิบัติการ เมื่อพบผู้ต้องสงสัยป่วยเป็นภาวะแพ้ยาสลบ

 

ภาวะนี้มีลักษณะของโรคใกล้เคียงกับไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤต ภาวะแทรกซ้อนของ NMS รวมทั้งผู้ป่วยเนื้องอกที่มีการหลั่งสาร Catecholamine

 

 

หมอดมยา

 

 

การรักษาแพ้ยาสลบ

 

รักษาตามอาการ เพื่อลดไข้และให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก

 

  • หลีกเลี่ยงหรือหยุดสารกระตุ้น

 

  • ระงับการผ่าตัดหรือดำเนินการหัตถกรรมให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

 

  • ให้ออกซิเจนความเข้มข้น 100 % ประมาณ 2 เท่าของภาวะปกติ

 

  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

 

รักษาแบบจำเพาะโดยให้ยา Dantrolene

 

เป็นยารูปแบบผง รวมกับ mannitol ผสมในน้ำกลั่น และฉีดผ่านหลอดเลือดดำเพื่อลดความรุนแรงที่อาจก่ออันตรายต่อร่างกาย หากผู้ป่วยมีภาวะที่ผิดปกติ ดังนี้

 

  • อัตราการเต้นของหัวใจเต้นช้าลง

 

  • อุณหภูมิในร่างกายลดลง

 

  • กล้ามเนื้อเกร็ง

 

  • ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในผิดปกติ

 

 

การป้องกันภาวะนี้เป็นไปได้อยากเพราะเกิดจากกรรมพันธุ์ อีกทั้งต้องใช้วิสัญญีแพทย์มาร่วมด้วย ซึ่งโรงพยาบาลเพชรเวช มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ประจำห้องผ่าตัดอยู่ มีหน้าที่ช่วยระงับความเจ็บปวด และความกังวลของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด  ตั้งแต่เตรียมความพร้อม คอยสังเกต ติดตาม รายงานผล รวมไปถึงดูแลผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นหลังจากการผ่าตัดอย่างปลอดภัย

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

วิสัญญีและห้องผ่าตัด