ขาดสารอาหาร ปัญหาสุขภาพที่จะตามมาในอนาคต
ขาดสารอาหาร ปัญหาสุขภาพที่จะตามมาในอนาคต

ขาดสารอาหาร (Malnutrition Disease) คือ ภาวะร่างกายขาดสารที่เสริมสร้างร่างกายให้มีการเจริญเติบโต แข็งแรง ให้พลังงาน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่จะตามมา โดยเฉพาะในวัยเด็กที่มักจะเล่นซุกซนหากผู้ปกครองไม่ใส่ใจ อาจได้รับผลกระทบเรื่องส่วนสูงและกระดูกในอนาคต หรือผู้ที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ละเลยเรื่องโภชนา มีความเสี่ยงต่อระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ป่วยบ่อย ติดเชื้อง่าย ร่างกายจะบอบช้ำมากกว่าบุคคลปกติ

 

 

สาเหตุของการขาดสารอาหาร

 

  • กลัวอ้วน

 

  • ภาวะทางจิตใจที่ผิดปกติ

 

  • อาการป่วยที่ทำให้อยากอาหารลดลง

 

  • มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร

 

  • ตั้งครรภ์

 

  • โรคทางสมองที่อาจลืมรับประทานอาหาร

 

  • ได้รับการรักษาทางทันตกรรม

 

  • ฐานะยากจนไม่มีเงินซื้อข้าว

 

  • ไม่สนใจในเรื่องของโภชนาการ

 

 

เด็กยากจน

 

 

อาการขาดสารอาหาร

 

  • น้ำหนักลด

 

  • ผิวซีด

 

  • ผมร่วง

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

  • ไม่อยากรับประทานอาหาร

 

  • ท้องผูก

 

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

 

  • ไม่มีสมาธิ

 

  • ซึมเศร้า

 

  • ใจสั่น

 

  • เป็นลม

 

  • วัยเด็กจะเจริญเติบโตช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน

 

  • หากติดเชื้อ เจ็บป่วย จะหายยากกว่าคนปกติ

 

 

ผมร่วง

 

 

ขาดสารอาหารควรรับประทานอะไรดี

 

บริโภคตามสัดส่วนของหลักโภชนาการ โดยเน้น

 

  • ผัก

 

  • ผลไม้

 

  • ธัญพืชไม่ขัดสี

 

ประเภทอาหารควรรับประทานในปริมาณที่พอดี

 

  • ข้าว

 

  • ขนมปัง

 

  • มันฝรั่ง

 

  • เนื้อสัตว์ไร้มัน

 

  • ไข่

 

  • นม

 

  • ถั่ว

 

นอกจากนี้ควรลดอาหารรสจัดโดยเฉพาะ เค็ม หวาน มัน และปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคอาหารเสริมหรือวิตามินอื่น ๆ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การดูดซึมสารอาหารมีประสิทธิภาพ

 

 

อาหารตามหลักโภชนาการ

 

 

การรักษาภาวะขาดสารอาหาร

 

นอกจากผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารตามหัวข้างด้านบน ยังมีกรณีที่รุนแรง อาจจะป่วยด้วยโรคอื่นมาก่อนแล้วจึงประสบกับปัญหาขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็น

 

ผู้ที่มีปัญหาในด้านการกลืน

 

  • ต้องได้รับสารอาหารผ่านทางสายยางผ่านจมูกลงหรือผิวหนังลงไปกระเพาะอาหาร รวมทั้งได้รับทางหลอดเลือดดำ

 

ผู้ป่วยติดเตียง

 

  • ไม่สามารถลุก ขยับ เลือกอาหารได้ ต้องมีผู้ดูแลใส่ใจในเรื่องของโภชนาการ ไม่ควรปล่อยให้คนไข้ผอมแห้ง ผิวหนังหุ้มกระดูก จะช่วยให้มีภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทั้งทางเดินหายใจ หรือทางเดินปัสสาวะ

 

ผู้ป่วยที่มีภาวะรุนแรงอาจต้องพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด ที่ค่อยวางแผนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยการฝึกกลืนอาหาร การออกกำลังกาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาตามปัจจัยของคนไข้แต่ละบุคคล เช่น ค่าดัชนีมวลการ ประวัติความเจ็บป่วย กรรมพันธุ์ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นต้น

 

 

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น ผู้คนสามารถเลือกบริโภคได้หลากหลาย แต่ถ้าหากไปรับประทานจำพวกมันฝรั่งทอด เนื้อสัตว์แปรรูป ข้าวกล่องแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำอัดลม จะมีความเสี่ยงขาดสารอาหาร เพราะ สิ่งเหล่านี้มีวิตามิน โปรตีน ใยอาหารน้อย

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566

 

 

คลั่งผอม ต้องผอมเท่าไหร่เธอถึงจะพอ