ข้าวเหนียวมะม่วง ประโยชน์ และผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้าวเหนียวมะม่วง ประโยชน์ และผลกระทบต่อสุขภาพ

อาหารหวานที่มักจะรับประทานในช่วงฤดูร้อนนั้นมีมากมาย หนึ่งในนั้นต้องเป็นข้าวเหนียวมะม่วง ซึ่งการรับประทานข้าวเหนียวมะม่วง มีทั้งประโยชน์ และผลกระทบต่อสุขภาพหากรับประทานมากเกินไป  ควรรับประทานในปริมาณที่พอดี โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ

 

 

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเหนียวมะม่วง

 

ข้าวเหนียวมะม่วง 1 จานนั้น ประกอบไปด้วย

          

  • พลังงานทั้งหมด 730 แคลอรี

           

  • พลังงานจากไขมัน 437.4 แคลอรี

          

  • โปรตีน 8.5 กรัม

           

  • คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 71.6 กรัม

           

  • ไขมันทั้งหมด 48.6 กรัม

           

  • โซเดียม 36.9 กรัม

           

  • โพแทสเซียม 512.2 กรัม

 

นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี แมกนีเซียม ไนอาซิน ซิงค์ แคลเซียม และไทอามิน

 

 

ประโยชน์จากการรับประทานข้าวเหนียวมะม่วง

          

  • ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงาน

           

  • สามารถกำจัดสารอนุมูลอิสระที่จะทำลายเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้

           

  • ลดอาการคอแห้ง กระหายน้ำ

           

  • ลดภาวะเหงื่อออกมาก

          

  • ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น คลายจากความเหนื่อยล้า

           

  • ช่วยให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น

 

 

ผลกระทบจากการรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงมากเกินไป

           

  • เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน

           

  • เพิ่มความเสี่ยงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

           

  • เพิ่มความเสี่ยงที่เป็นโรคเบาหวาน

           

  • กระตุ้นให้เกิดอาการร้อนใน

           

  • ท้องอืด แน่นท้อง

           

  • การทำงานของกระเพาะอาหารผิดปกติ (ย่อยอาหารได้ยากขึ้น)

           

  • ท้องผูก

           

  • หากรับประทานในช่วงก่อนนอนอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

 

 

ข้าวเหนียวมะม่วง

 

 

การรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงโดยไม่เสียสุขภาพ

          

  • รับประทานในปริมาณที่พอดี

           

  • รับประทานข้าวเหนียวมูนในปริมาณ ครึ่งเดียว ต่อมะม่วง 1 ลูก

           

  • ลดปริมาณของกะทิ

           

  • เลือกรับประทานในช่วงเวลากลางวัน

           

  • หากเลือกรับประทานข้าวเหนียวมะม่วง ควรแทนอาหารมื้อหลักในมื้อนั้นๆ

          

  • ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรลดปริมาณในการรับประทาน

 

 

หลังจากการรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงแล้ว ควรทำการออกกำลังกายควบคู่กันไป อีกทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต และผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรืออาการม้ามพร่อง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานข้าวเหนียวมะม่วง เพราะอาจทำให้โรคที่เป็นอยู่นั้นเกิดอาการกำเริบขึ้นได้