ตามธรรมชาติของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์นั้น ร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อที่ผนังมดลูกให้มีความหนาขึ้น เพื่อเตรียมการตั้งครรภ์ แต่ถ้ายังไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดลอก และไหลผ่านทางช่องคลอดเป็นโลหิต เรียกว่า ประจำเดือน ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 21-35 วัน ครั้งละ 3-8 วัน ออกเป็นสีต่างๆ ได้แก่ สีแดงเข้ม สีน้ำตาล และสีดำ ร่วมกับอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ หน้าอกขยาย และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากมีอาการที่ผิดปกติจากที่กล่าวมาขณะเป็นประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณเตือนบอกโรคของสุภาพสตรีได้
สีประจำเดือนที่ผิดปกติ
อย่างที่ทราบกันดีว่าสีประจำเดือนที่ปกตินั้น คือ สีแดงเข้ม สีน้ำตาล และสีดำ หากมีสีประจำเดือนที่แตกต่างจากนี้ สามารถบอกสัญญาณเตือนของโรค หรือภาวะร่างกายที่ผิดปกติ ได้แก่
สีชมพู หรือสีแดงจางๆ
สีแดงอมส้ม
สีแดงปนเขียวข้นๆ
สีแดงปนเทา
สีแดงเข้มจัด
ปริมาณประจำเดือนที่ปกติในแต่ละรอบจะต้องไม่เกิน 80 cc. และมีการเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2-3 ชั่วโมง
ปริมาณประจำเดือนมากกว่าปกติ
หากประจำเดือนมามากกว่า 8 วัน และสังเกตได้ว่าจะต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ ชั่วโมง แสดงว่าประจำเดือนมีมากกว่าปกติ เป็นสัญญาณเตือนบอกโรค และความผิดปกติของร่างกาย ได้แก่
ปริมาณประจำเดือนน้อยกว่าปกติ
สามารถสังเกตได้จากสีประจำเดือนจางๆ เวลาเปลี่ยนผ้าอนามัย หรือประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
ปกติแล้วประจำเดือนแต่ละรอบนั้น จะต้องไม่มาเร็วกว่า 21 วัน หรือมาช้ากว่า 35 วัน นับจากประจำเดือนรอบที่แล้ว หากประจำเดือนที่มาเร็ว หรือช้ากว่าเวลาดังกล่าว แสดงรอบประจำเดือนนั้นผิดปกติ หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ สามารถบอกโรค และความผิดปกติของร่างกาย ได้แก่
ปกติแล้วประจำเดือนแต่ละรอบนั้นจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากการหลั่งของสาร โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก กล้ามเนื้อจึงมีการบีบตัว และหดเกร็ง ส่งผลให้มีอาการปวดท้องขึ้น แต่หากพบว่ามีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนอย่างรุนแรง และบ่อยครั้ง ร่วมกับการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย สามารถบอกโรค และความผิดปกติของร่างกาย ได้แก่
ประจำเดือนที่ผิดปกติอาจจะไม่เกิดจากโรคทางนรีเวชเพียงอย่างเดียว ยังสามารถเกิดจากพฤติกรรมของคุณผู้หญิงเอง เช่น ความเครียด การมีน้ำหนักตัวเยอะ หรือลดลงผิดปกติ ดังนั้นหากคุณผู้หญิงปรับพฤติกรรมเหล่านี้แล้ว แต่ประจำเดือนก็ยังผิดปกติอยู่ ควรทำการพบสูตินรีแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง