จุลินทรีย์ในอาหาร มีทั้งประโยชน์และผลกระทบ ร้อนนี้โปรดระวัง
จุลินทรีย์ในอาหาร มีทั้งประโยชน์และผลกระทบ ร้อนนี้โปรดระวัง

จุลินทรีย์ (Microorganism) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งสามารถพบได้ทุกพื้นที่ทั้งบนดิน น้ำ อากาศ โดยเฉพาะในอาหาร และร่างกายของมนุษย์ อาศัยอยู่ในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณผิวหนัง ปาก ช่องคลอด ลำไส้ บางชนิดส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าหากขาดสมดุลกันจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ฤดูร้อนนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะเสี่ยงต่ออาการอาหารเป็นพิษได้ง่าย

 

 

จุลินทรีย์ในอาหารมีอะไรบ้าง

 

แบคทีเรีย

 

  • คอคคัส ก่อให้เกิดสารพิษในผลิตภัณฑ์จำพวก เนย เนื้อสัตว์

 

  • บาซิลลัส ใช้ในการทำไวน์ น้ำส้มสายชู นมเปรี้ยว

 

  • สไปริลลัม

 

ยีสต์

 

  • ส่วนผสมในการหมักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขนมปัง เพิ่มคุณค่าสารอาหารบางชนิด ในทางตรงกันข้ามมักจะก่อให้เกิดการเน่าเสีย หรือโรคในสัตว์และมนุษย์

 

รา

 

  • เป็นส่วนประกอบในการหมักเนยแข็ง สกัดสารปฏิชีวนะ ทำยาเพนิซิลิน

 

ไวรัส

 

  • บางชนิดทำให้ท้องเสีย และเป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดนก ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น

 

โปรโตซัว

 

  • มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศแบบที่เป็นปรสิต  ก่อให้เกิดโรคมาลาเลีย บิด ลำไส้อักเสบ

 

 

ขนมปังขึ้นรา

 

 

การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหาร

 

ปัจจัยภายใน

 

  • กรด-ด่าง (pH)

 

  • ความชื้น

 

  • ค่า Oxidation-Reducton Potetial

 

  • สารที่มีในอาหาร เช่น น้ำ วิตามิน แร่ธาตุ

 

  • สารยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ (Inhibitor)

 

  • โครงสร้างทางชีววิทยา

 

ปัจจัยภายนอก

 

  • อุณหภูมิของห้อง

 

  • ความชื้นสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม

 

  • ชนิดและสัดส่วนของแก๊สในบรรยากาศ

 

  • จุลินทรีย์อื่น ๆ

 

 

มันเปื้อนดิน

 

 

การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอาหาร

 

ทางกายภาพ

 

  • จากวัสดุต่าง ๆ ได้แก่ เส้นผม เศษแก้ว กระดาษ

 

ทางเคมี

 

  • ยาฆ่าแมลง ฟอร์มาลีน วัตถุกันเสีย สารฟอกขาวหรือเร่งเนื้อแดง

 

นอกจากนี้ยังมีการปนเปื้อนจากแหล่งอื่น ๆ ได้อีก เช่น

 

  • ดิน

 

  • น้ำ

 

  • อากาศ

 

  • ผัก

 

  • ผลไม้

 

  • สัตว์

 

  • ขั้นตอนการผลิต ขนส่ง และจำหน่าย

 

  • จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในอาหารจะก่อโรคได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสารพิษ เช่น ทำลายเนื้อเยื่อระบบประสาท ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

 

 

จุลินทรีย์ไม่สมดุลกับร่างกาย

 

 

อาการจุลินทรีย์ไม่สมดุลกับร่างกาย

 

  • อารมณ์แปรปรวน

 

  • อ้วน

 

  • ซึมเศร้า

 

  • ผิวหนังผิดปกติ

 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

  • เบาหวาน

 

  • ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน

 

 

ล้างมือ

 

 

การป้องกันจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร

 

  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ

 

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาหาร และพื้นครัว

 

  • แยกอาหารสดออกจากอาหารที่ปรุงแล้วเสมอ

 

  • เลือกวัตถุดิบอาหารที่สดได้คุณภาพ รวมทั้งปรุงสุกโดยใช้ความร้อน

 

  • เก็บรักษาอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม

 

  • หลีกเลี่ยงอาหารค้างคืน หมักดองหรือเก็บไว้นาน

 

 

บ่อยครั้งมักจะพบข่าวจากสื่อโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับค่าจุลินทรีย์ที่เกินในอาหารประเภทหมักดอง เครื่องเทศ ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป บรรจุภัณฑ์จากกระป๋อง หรือกรรมวิธีตากแห้งต่าง ๆ หากจะรับประทานอาหารประเภทนี้ควรตรวจสอบฉลากสินค้า รวมทั้งเครื่องหมายจากองค์การอาหารและยา ทั้งนี้เพื่อความสมดุลจุลินทรีย์กับร่างกายควรลดเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารรสจัด รวมทั้งปริมาณไขมันที่สูง

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566