ยาทากันยุง เป็นทางเลือกในการป้องกันแมลงชนิดหนึ่งที่เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนรวมทั้งประเทศที่มีลักษณะภูมิอากาศเขตร้อน เช่น ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา เท้าช้าง มาลาเรีย ซึ่งปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ออกมาในรูปแบบหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโลชั่น ครีม สเปรย์ คล้ายกับเครื่องบำรุงผิวตามท้องตลาดทั่วไป แต่ส่วนประกอบนั้นมีส่วนผสมของเคมีและสารสกัดธรรมชาติ หากใช้ไม่ถูกสุขลักษณะอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
สามารถแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ ได้แก่
รบกวนการรับกลิ่นของยุง ทำให้มันไม่บินเข้ามาต่อมเพื่อดูดเลือดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น
สารจากธรรมชาติ เช่น
กวนการทำงานของระบบประสาทของยุง เมื่อมันได้กลิ่นจะเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว แต่มักจะพบในรูปแบบของยาจุดกันยุงที่มีควันมากกว่า ซึ่งประกอบไปด้วย
เด็กที่เพิ่งคลอดออกมานั้น มีความบอบบางมาก ไม่ควรใช้ยาทากันยุงในเด็กต่ำกว่า 2-6 เดือน ซึ่งถ้าหากใช้จะเกิดอาการผิดปกติ เช่น ผื่น คัน ผิวหนังอักเสบ ควรใช้วิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็น
เด็กอายุ 6 เดือน ขึ้นไป สามารถใช้ยาทากันยุงประเภทตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส สารสกัดจากผิวเปลือกส้ม หรือสาร DEET ความเข้มข้นไม่เกิน 10 % ทั้งนี้สารเคมีในข้างต้นเป็นตัววัดในการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วย
อีกทั้งผู้ปกครองควรเป็นผู้ทายากันยุงให้บุตรหลานเอง ค่อย ๆ สอนการใช้ ในปริมาณที่เหมาะสมโดยระยะเวลาต้องไม่ติดต่อกัน รวมทั้งไม่ทาหรือฉีดเข้าไปที่บริเวณใบหน้า ริมฝีปาก รอบดวงตา หรือบริเวณแผลของเด็กโดยตรง เมื่อเสร็จแล้วเน้นย้ำว่าต้องล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำให้สะอาด
หากใช้อย่างถูกสุขลักษณะก็ไม่ความผิดปกติแต่อย่างใด แต่ผู้ที่เชื่อในโฆษณาชวนเชื่อ ไม่อ่านฉลากก่อนใช้ แล้วนำไปใช้กับเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่แพ้สารในยาทากันยุง อาจทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่
ยาทากันยุงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ไม่สามารถป้องกันยุงได้เพียงอย่างเดียว ควรกำจัดน้ำขังเพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ปิดหน้าต่าง ประตู ใช้มุ้งลวด สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกายมิดชิดโดยไม่ใช้สีทึบหรือสว่างจนเกินไป อีกทั้งก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติ จะต้องมีวิจารณญาณอย่างรอบคอบ เพื่อปลอดภัยจากแมลงร้ายและโรคในหน้าฝนนี้