โรคลมหลับ ความผิดปกติจากการนอนหลับแบบเรื้อรัง
โรคลมหลับ ความผิดปกติจากการนอนหลับแบบเรื้อรัง

โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นโรคที่มาจากปัญหาการนอนหลับเรื้อรัง ทำให้มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และสามารถหลับได้โดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งถ้าหากไม่ทำการรักษาอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง

 

 

อาการของโรคลมหลับ

 

  • ง่วงนอนมากกว่าปกติโดยเฉพาะในเวลากลางวัน และหลับโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้

 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Cataplexy) เนื่องจากการกระตุ้นทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น และการหัวเราะ เป็นต้น

 

  • อาการผีอำ (Sleep paralysis) คือ การที่ไม่สามารถขยับตัว และส่งเสียงได้ในขณะหลับ สร้างความตกใจแต่ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างไร

 

 

สาเหตุของโรคลมหลับ

 

ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคลมหลับ แต่ในผู้ป่วยหลายรายมักจะมีไฮโปเครติน (Hypocretin) หรือระดับสารเคมีในสมองที่ต่ำกว่าปกติ

 

 

การวินิจฉัยโรคลมหลับ

 

  • ตรวจการนอนหลับ (Polysomnogram) เป็นการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของดวงตา และการหายใจขณะนอนหลับ

 

  • ตรวจความง่วงนอน (Multiple Sleep Latency Test) การตรวจวัดระยะเวลาที่รู้สึกง่วง และเวลาที่หลับไปในช่วงกลางวัน โดยให้ผู้ป่วยงีบ ประมาณ 20 นาทีห่างกันทุก 2 ชั่วโมง จำนวน 4 - 5 รอบ และบันทึกผล

 

 

ลมหลับ

 

 

การรักษาโรคลมหลับ

 

แม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาจนหายขาด แต่สามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

 

การใช้ยา

 

  • การใช้ยายากระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น Methylphenidate, Amphetamine, และ Modafinil

 

การปรับพฤติกรรม

 

  • ตื่นนอน และเข้านอนให้เป็นเวลา

 

  • ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอน

 

  • ปรับสภาพร่างกายให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอน

 

 

ผู้ที่เป็นโรคลมหลับหากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษา ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดการหลับใน เป็นอันตรายต่อทั้งคนขับ และผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)