แบคทีเรียกินเนื้อ แผลพุพองจนติดเชื้อในกระแสเลือด
แบคทีเรียกินเนื้อ แผลพุพองจนติดเชื้อในกระแสเลือด

แบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis) คือ ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนที่อาจส่งผลให้ผิวหนังถึงชั้นกล้ามเนื้อถูกทำลาย จนติดเชื้อในกระแสเลือด เสียชีวิตในที่สุด พบได้ไม่บ่อย เพราะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงปกติจะไม่ประสบกับโรคนี้ แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไตวาย หัวใจ ปอดเรื้อรัง หากมีแผลพุพองแล้วไม่ดูแลรักษาไม่ดี มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อการติดเชื้อได้ง่าย

 

 

แบคทีเรียกินเนื้อเกิดจากอะไร

 

แบคทีเรียชนิดต่าง ๆ เช่น

 

  • Group A Streptococcus

 

  • คลอสตริเดียม (Clostridium)

 

  • เคล็บเซลลา (Klebsiella)

 

  • อีโคไล (E. Coli)

 

เชื้อในข้างต้นเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังหรือกระแสโลหิตจากการเกิดบาดแผลที่ดูแลรักษาไม่ถูกสุขลักษณะ โดยมันจะไปทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังและกล้ามเนื้อเนื้อเยื่อตาย และสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยง ได้แก่

 

  • การเดินไม่สวมรองเท้า

 

  • ลุยโคลน น้ำขัง โดนเปลือกหอย หรือโดนของใต้น้ำบาด

 

  • เศษไม้ แก้วบาด

 

  • ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

 

  • แมลงสัตว์กัดต่อย

 

  • ใช้เข็มฉีดยา

 

  • โดนข่วน จิก

 

  • อุบัติเหตุ

 

 

แบคทีเรีย

 

 

อาการแบคทีเรียกินเนื้อ

 

  • ปวดบาดแผลที่ผิวหนังร้อน แดง

 

  • มีถุงน้ำ จุดดำ ตุ่ม และของเหลวซึมออกมา

 

  • กล้ามเนื้อตึง

 

  • มีไข้

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

  • คลื่นไส้

 

  • ท้องเสีย

 

  • กระหายน้ำ

 

  • ปัสสาวะน้อย

 

ผ่านไป 3-4 วัน จะรุนแรงขึ้น

 

  • ผื่นสีม่วงขึ้น

 

  • ตุ่มน้ำส่งกลิ่นเหม็น

 

  • เนื้อเยื่อหลุดลอก

 

  • ผิวหนังเปลี่ยนสี

 

  • ความดันโลหิตต่ำ

 

  • หมดสติ

 

 

พลาสเตอร์

 

 

การวินิจฉัยแบคทีเรียกินเนื้อ

 

ด้วยความที่โรคนี้มีลักษณะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ หรืออาจเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด มักจะวินิจฉัยในระยะที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจดังนี้

 

  • ดูอาการผิดปกติทางผิวหนัง

 

  • ตรวจกล้ามเนื้อเพื่อดูความเสียหาย จาก CT Scan หรือ MRI

 

  • ตรวจหาแบคทีเรียทางของเหลว เนื้อเยื่อ ของผู้ป่วย

 

 

แผลที่เท้า

 

 

วิธีรักษาโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

 

การใช้ยา

 

หลายชนิดรวมกันผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้ร่างกายสู้กับภาวะติดเชื้อ เช่น

 

  • ยาปฏิชีวนะ

 

  • ยาควบคุมความดันโลหิต

 

  • สารภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลิน

 

การผ่าตัด

 

  • กำจัดเนื้อเยื่อที่เสียหาย

 

  • หยุดการกระจายของเชื้อ

 

  • หากรุนแรงอาจต้องตัดอวัยวะบริเวณนั้นทิ้ง

 

นอกจากนี้บางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับการถ่ายเลือด หรือหากเกิดภาวะช็อก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

 

 

รองเท้าบูต

 

 

การป้องกันแบคทีเรียกินเนื้อ

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

 

  • สวมใส่เครื่องแต่งกายอย่างมิดชิดเมื่อออกจากบ้าน

 

  • ล้างมือด้วยน้ำสะอาดบ่อย ๆ

 

  • เมื่อมีบาดแผลควรห้ามเลือดทันที โดยให้น้ำไหลผ่านบาดแผล และใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง

 

  • ใช้พลาสเตอร์ หรือผ้าปลอดเชื้อปิดบาดแผล เปลี่ยนทุกครั้งเมื่อเปียกน้ำ

 

  • หากสัมผัสกับผู้ป่วยโรคนี้ รีบไปปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาล

 

 

เกษตรกรที่ทำไร่ ไถนา เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบ ควรสวมใส่รองเท้าบูตขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่ว่าคนที่อยู่ในเมืองหลวง หรือเขตอุตสาหกรรมก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ยกตัวอย่างกรณีเจ้าของร้าน อ้วนตรึ้ม กะเพราตะหลิวตัด ที่เป็นกระแสโด่งดังอยู่ในโซเชียลมีเดีย ผู้ชายวัย 21 ปี ต้องลาจากโลกนี้ไป เพราะติดเชื้อในกระแสโลหิต จากการเป็นแผลพุพองที่เท้า