อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดการกับผลกระทบที่เกิดจากการทำงาน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดการกับผลกระทบที่เกิดจากการทำงาน

อาชีวอนามัย คือ การส่งเสริม ควบคุม ดูแล ป้องกันโรคและอุบัติเหตุต่างๆ รักษาสุขพลานามัยผู้ประกอบอาชีพให้มีความปลอดภัย ทั้งร่างกาย จิตใจ รวมทั้งการคุ้มครองได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เป็นกระบวนเรียนรู้เพื่อจัดการกับผลกระทบที่เกิดมาจากการทำงานก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สภาพแวดล้อม อุปกรณ์เครื่องมือ ความสมดุลกันระหว่างกระบวนการทำงานและบุคลากร

 

 

อาชีวอนามัยทำงานอะไรบ้าง

 

  • ส่งเสริมและรักษาสุขภาพกาย จิตใจ ให้มีความแข็งแรง

 

  • ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพจากการทำงาน

 

  • คุ้มครองไม่ให้มีการทำงานที่เสี่ยงต่ออันตราย

 

  • จัดการสภาพแวดล้อมสถานที่ทำงาน

 

  • ปรับสภาพของงานให้สอดคล้องกับความแตกต่างทางสรีระ และจิตใจของบุคคล เพื่อประสิทธิภาพงาน

 

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

 

ความสำคัญของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

ฝ่ายลูกจ้าง

 

  • มีความปลอดภัย ไม่เกิดการบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเกิดการเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงาน ตามหลักพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนสากล

 

ฝ่ายนายจ้าง

 

ลดโอกาสการความเสียหาย เช่น

 

  • ค่าใช้จ่ายการบำรุงอุปกรณ์ เครื่องมือวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์

 

  • ค่ารักษาพยาบาลลูกจ้าง

 

  • เวลาในการทำงาน

 

  • ภาพลักษณ์ขององค์กร

 

ภาครัฐและสังคม

 

  • พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปอย่างมั่นคงต่อเนื่อง

 

  • ลดปัญหาทางสังคม เมื่อลูกจ้างที่เป็นหัวหน้าครอบครัวได้รับผลกระทบ

 

 

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

 

องค์ประกอบโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

 

วางแผน

 

  • เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของทุกกระบวนการ

 

รายงานเหตุการณ์

 

  • ทุกคนเข้าถึงข่าวสารในองค์กรได้ทันท่วงที ทำให้การวางแผนสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

 

User Friendly Interface

 

  • ส่วนต่อประสานที่ชัดเจนและใช้งานง่าย เป็นการทำงานร่วมกับบุคลากรกับเทคโนโลยี

 

ฝึกอบรม

 

  • ช่วยให้เกิดความปลอดภัยเมื่อตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงอันตรายได้

 

ประเมินความเสี่ยง

 

  • ช่วยในการประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสม

 

การรับรอง

 

  • จากองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจของบุคลากรและลูกค้า ซึ่งอาจส่งผลดีต่อรายได้

 

การสื่อสาร

 

  • พนักงานมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จะส่งผลดีต่อระบบงาน

 

เข้าถึงข้อมูล

 

  • ควรมีการเก็บเอกสารข้อมูลความปลอดภัย เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่ายรับรู้

 

 

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

 

ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าเป็นศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เพื่อขจัดปัญหาสุขภาพของพนักงาน แนวทางแก้ไขจะต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างสาขาวิชาการที่หลากหลายมาประยุกต์ให้เข้าด้วยกัน ดังนี้

 

  • สุขศาสตร์อุตสาหกรรม หรืออาชีวสุขศาสตร์ (Industrial Hygiene or Occupational Hygiene)

 

  • อาชีวนิรภัย (Occupational Safety)

 

  • การยศาสตร์และจิตวิทยาในการทำงาน (Ergonomics and Work Psychology)

 

  • อาชีวเวชศาสตร์ หรือเวชศาสตร์อุตสาหกรรม (Occupational Medicine or Industrial Medicine)

 

 

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ค.ศ. 1800 เมื่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดเทคโนโลยีเครื่องมือในโรงงานแทนแรงของมนุษย์ ส่งผลให้แรงงานบางส่วนที่ปรับตัวกับอุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้ รับผลกระทบในที่สุด จึงมีการตราพระราชบัญญัติบังคับใช้กฎหมายในหลายประเทศของทวีปยุโรป ปัจจุบันประเทศไทยได้จัดทำเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่ วิทยากร นักวิชาการ พนักงานตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยได้

 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : marketing@petcharavej.com  หรือสอบถามช่องทาง Line : @petcharavej คลิก



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566