โรคข้อเสื่อม เมื่อกระดูกอ่อนผุกร่อน รักษาได้แต่ไม่หายขาด
โรคข้อเสื่อม เมื่อกระดูกอ่อนผุกร่อน รักษาได้แต่ไม่หายขาด

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือข้อกระดูกอ่อนเสื่อม  คือ โรคที่เกิดจากกระดูกอ่อนที่อยู่บริเวณส่วนปลายของกระดูก เนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูก เกิดการผุกร่อน หรือแตกร้าวออกมา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแบบฝืดๆ บริเวณกระดูกด้านหลังของคอ ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง โดยกระดูกอ่อนจากอวัยวะเหล่านี้มักจะเกิดการเสื่อมได้บ่อย เพราะเป็นจุดที่ต้องรับน้ำหนักตัว แต่ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า ก็สามารถเกิดโรคได้เช่นกัน โรคข้อเสื่อม หากได้รับการรักษาอย่างไม่ถูกวิธีอาจทำให้ไม่หายขาดได้

 

 

สาเหตุของข้อเสื่อม

 

อายุมากขึ้น

 

  • เกิดความเสื่อมของกระดูก และข้อตามธรรมชาติ

 

ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือผู้ป่วยโรคอ้วน

 

  • อวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักตัวมากเกินไป จึงเกิดความเสื่อมได้เช่น สะโพก หรือข้อเข่า

 

ผู้ที่ต้องทำงานโดยใช้กระดูกข้อต่ออย่างหนัก

 

  • เช่น นักกีฬา และกรรมกรแบกหาม

 

โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับข้อต่อกระดูก

 

  • เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) และโรคเก๊าท์ เป็นต้น

 

กรรมพันธุ์

 

  • ผู้ที่มีประวัติเคยบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็น ข้อต่อ หรือกระดูกหักในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งการติดเชื้อ

 

 

อาการของโรคข้อเสื่อม

 

เมื่อขยับบริเวณข้อต่อกระดูกจะมีอาการเจ็บ ปวด และบวมขึ้น ไม่สามารถขยับได้อย่างสะดวก รวมทั้งมีการบวมขึ้น

 

  • เช่น ปวดเข่าขณะขึ้นบันได

 

  • ปวดนิ้วหัวแม่เท้า

 

  • ปวดหลังร้าวลงขา

 

  • นิ้วมือบวม

 

เกิดเสียงจากการเสียดสีของข้อต่อกระดูก

 

  • ขณะเคลื่อนไหวร่างกายจะมีเสียงดังกรอบแกรบ

 

เกิดอาการฝืดแข็งของข้อต่อกระดูก

 

  • เช่น หัวไหล่ติด

 

  • ข้อศอกยึด

 

อาการชา หรืออ่อนแรงบริเวณข้อต่อ

 

  • เกิดจากกระดูกอ่อนกดทับเส้นประสาท

 

 

วิดีโอ ประสบการณ์จริงจากคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (คลิก)

 

 

 

การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม

 

ขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติของผู้ป่วยถึงอาการ และระยะเวลาในการเกิดโรค รวมทั้งสอบถามว่ามีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อมหรือไม่

 

ต่อมาแพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะอาการภายนอกของผู้ป่วย เช่นการบวมของข้อต่อกระดูก เสียงจากการเสียดสีข้อต่อกระดูกขณะผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกาย

 

การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวินิจฉัย

 

  • การเอกซเรย์

 

  • การใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุในการเกิดโรคอื่นๆ

 

 

การรักษาโรคข้อเสื่อม

 

การรับประทานยา

 

  • เช่น ยาพาราเซตามอล

 

  • ยาดูล็อกซีทีน (Duloxetine)

 

  • ยาในกลุ่ม NSAIDs

 

การฉีดยา และสารต่างๆ

 

การฉีดยาสเตียรอยด์

 

  • สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองจากการรับประทานยา

 

การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า

 

  • โดยใช้กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เป็นของเหลวในข้อเข่า สามารถบรรเทาอาการปวดได้

 

การฉีดคอร์ติโซน

 

  • ทำให้อาการปวดบริเวณข้อต่อลดลงได้

 

การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma)

 

  • เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยมาปั่นแยกเกล็ด และสารสร้างเนื้อเยื่อ เลือกเกล็ดเลือดชนิดเข้มข้นสูงสุดฉีดบริเวณข้อต่อกระดูกที่เกิดความเจ็บปวด ช่วยให้มีอาการที่ดีขึ้น

 

กายภาพบำบัด

 

  • เช่น การออกกำลังกายบริหารบริเวณข้อต่อ

 

การผ่าตัด

 

การผ่าตัดจัดกระดูกใหม่

 

  • แพทย์จะปรับตำแหน่งกระดูกเข่าที่เกิดความเสียหายจากการต้องแรงกระแทกของน้ำหนักตัว ให้อยู่ในบริเวณที่ยังปกติ โดยการเพิ่ม หรือตัดลิ่มกระดูกออก

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

 

  • โดยใช้ข้อต่อเทียมครอบข้อเข่าเดิมที่มีการเสื่อมสภาพ

 

การรักษาแบบทางเลือกต่างๆ

 

  • เช่น การฝังเข็ม  

 

 

Osteoarthritis

 

 

การป้องกันโรคข้อเสื่อม

 

  • ลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี

 

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อต่อกระดูกทำงานหนัก เช่น การยกของหนัก การขึ้นลงบันไดบ่อยๆ การกระทืบเท้าอย่างรุนแรง

 

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ การนั่งยองๆ หรือนั่งคุกเข่า

 

 

โรคข้อเสื่อมมักจะพบในวัยผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะเพศหญิงที่มีมวลกล้ามเนื้อ และกระดูกน้อยกว่าผู้ชายตามธรรมชาติ และบางกรณีอาการของโรคจะค่อยๆ เริ่มเป็นทีละน้อย บางรายมีอาการรุนแรงแบบปวดมากๆ หรือก็อาจจะเป็นๆ หายๆ ทั้งนี้ในการรักษาควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และปรึกษาแพทย์ก่อนการรักษาแบบทางเลือก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

เวชศาสตร์ฟื้นฟู