โรคข้อสะโพกเสื่อม อาการปวดที่ไม่สามารถนอนหลับลงได้
โรคข้อสะโพกเสื่อม อาการปวดที่ไม่สามารถนอนหลับลงได้

โรคข้อสะโพกเสื่อม (Osteoarthritis of the Hip)  คือ การอักเสบของข้อที่เกิดจากกระดูกอ่อนที่ครอบคลุมพื้นผิวของข้อเกิดความเสื่อม จนหลุดออกไป ทำให้กระดูกเสียดสีกัน ส่งผลให้เกิดอาการปวด มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ส่งผลกระทบในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถเดินขึ้น-ลงบันได หรืออาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถนอนหลับลงได้

 

 

สาเหตุในการเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม

      

  • พันธุกรรม หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

      

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

      

  • ผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพก

      

  • การติดเชื้อข้างในข้อสะโพก

      

  • ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ โรคหัวกระดูกหัวสะโพกตาย และโรคข้ออักเสบ อื่นๆ

      

  • การใช้ยาสเตียรอยด์เยอะๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

      

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

อาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม

      

  • มีอาการปวดสะโพก และอวัยวะข้างเคียง เช่น ขาหนีบ ก้นกบ โดยเฉพาะเวลาเดินขึ้น-ลง บันได หรือ การนั่งยองๆ

      

  • หลังตื่นนอนจะมีอาการขยับสะโพกไม่ได้ ข้อติด และข้อยึด

      

  • ขยับข้อ งอข้อ และเหยียดข้อ ได้ไม้สะดวก

      

  • รู้สึกว่ามีอะไรขัดข้ออยู่ จึงต้องสะบัดออก

      

  • มีเสียงดังที่ข้อสะโพก เมื่อมีการขยับ

 

 

การวินิจฉัย โรคข้อสะโพกเสื่อม

 

      

  • ซักประวัติ แพทย์จะถามอาการปวดของผู้ป่วย ประวัติคนในครอบครัวว่ามีใครโรคข้อสะโพกเสื่อม รวมถึงเคยเกิดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และการใช้ยารักษาโรคประจำตัว เพราะยาที่ผู้ป่วยใช้อาจมีสเตียรอยด์

      

  • การตรวจบริเวณข้อสะโพกภายนอก แพทย์จะตรวจโดยการกดบริเวณข้อสะโพกภายนอกของผู้ป่วย เพื่อหาว่าจุดเจ็บอยู่ตรงไหน ทั้งนี้ยังตรวจดูข้อสะโพกว่าจะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือไม่

      

  • วินิจฉัยจากการเดินของผู้ป่วย ว่ามีการเดินที่ผิดปกติหรือไม่ เช่นเดินไม่ตรง

      

  • การเอกซเรย์ข้อสะโพก

      

  • การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

      

  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

สะโพกเสื่อม

 

 

การรักษาข้อสะโพกเสื่อม

 

การรักษาข้อสะโพกเสื่อมแบบไม่ผ่าตัด

      

  • การรับประทานยา เช่น ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวด

      

  • การฉีดยาสเตียรอยด์  หากอาการปวด และการอักเสบของข้อสะโพกไม่บรรเทาลง

      

  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวด และการอักเสบของข้อสะโพก โดยการใช้ความร้อน และความเย็น

      

  • การใช้ไม้เท้าช่วย ช่วยเดิน

      

  • การปรับตัวในชีวิตประจำวัน เช่น ลดการเดินขึ้น-ลง บันได การเล่นกีฬา ที่จะต้องออกแรงวิ่ง กระโดด รวมทั้งการลดแรงที่กดลงบนข้อ ด้วยการลดน้ำหนัก เป็นต้น

 

การผ่าตัดรักษาข้อสะโพกเสื่อม

 

  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม สำหรับผู้ป่วยที่ข้อสะโพกมาก เช่น มีการผิดรูป และมีอาการเจ็บปวดรุนแรง  จนไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้สะดวก เช่น เดินไม่เดิน

      

  • การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก หากส่วนใดส่วนหนึ่งที่พื้นผิวของข้อสะโพกเสียหาย แต่บางส่วนปกติ แพทย์จะทำการหมุนพื้นผิวของข้อที่ยังปกติเข้าสัมผัสกัน

      

  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง หากในข้อมีเศษกระดูกอ่อน จากการฉีกขาดของกระดูกอ่อนในข้อสะโพก 

 

 

การป้องกันข้อสะโพกเสื่อม

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      

  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากกเกินไป

      

  • ควรออกกำลังกาย แบบลดแรงกระแทก เช่น การเดินในน้ำ และการปั่นจักรยาน เป็นต้น

 

 

มีการรายงานจากการวิจัยว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ 400 ซีซี ต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวกระดูกหัวสะโพกตาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม มากกว่าบุคคลที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ถึง 10 เท่า ทั้งนี้ข้อสะโพกเสื่อมไม่ได้เกิดในเฉพาะผู้สูงอายุเพียงวัยเดียว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย อีกทั้งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในปัจจุบันนี้ มีการนำเทคโนโลยี ที่ช่วยส่งผลดีต่อผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น แผลเล็ก ลดการเสียเลือด พักฟื้นไว สามารถใช้ชีวิตได้ปกติหลังผ่าตัดอย่างสะดวก