โรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของสมองที่นอกเหนือจากโรคอัลไซเมอร์ ยังมีโรคที่เกี่ยวกับสมองที่จะส่งผลให้ร่างกายมีอาการสั่นเกร็งตามส่วนต่าง ๆ มีผลต่อการเคลื่อนไหว นั่นคือ “โรคพาร์กินสัน” ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สมองในส่วนของก้านสมองส่วนกลาง (Midbrain) ถูกทำลายไปทีละน้อย ๆ จนเกิดความเสียหาย โรคนี้มักจะพบในผู้สูงอายุ และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยครอบครัวที่มีผู้สูงอายุควรมีความรู้ และความเข้าใจในโรคนี้ เพราะโรคนี้ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นเราควรรู้จักโรคนี้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “โรคสันนิบาตลูกนก” เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์สมองในส่วนที่สร้างสารเคมีที่ชื่อว่า โดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเริ่มทำงานเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถผลิตสารนี้ได้อีกต่อไป จึงมีผลให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ โรคนี้จะพบมากในช่วงอายุ 65-80 ปีขึ้นไป โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า โรคนี้จะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่สามารถกระทบกับผู้ป่วยได้ในระยะยาว
โดยปกติแล้วโรคนี้จะมีอาการที่แสดงออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แต่ที่เป็นเหมือนกันคือ โรคนี้จะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเหมือนโรคทางสมองอื่น ๆ และอาการจะเป็นมากขึ้นไปด้วยหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เสี่ยงพิการ และกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ ดังนั้นหากพบว่าคนในครอบครัวมีอาการเข้าข่ายจะเป็นโรคนี้ควรรีบพาเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยนั่นเอง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI