ปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) คืออาการปวดท้องด้านล่างตั้งแต่บริเวณใต้สะดือ จนถึงหัวหน่าว จากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร หรือปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ ที่มีความเกี่ยวข้องการมีประจำเดือน เพศสัมพันธ์ จึงเป็นอาการเตือนของโรคนรีเวช และโรคต่างๆ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute Pelvic Pain) 2. ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ (Recurrent Pelvic Pain) 3. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic Pelvic Pain) ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานๆ จะสามารถส่งผลกระทบทางจิตใจ และกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute Pelvic Pain)
เกิดจากอวัยวะในช่องท้องขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งมีสาเหตุดังนี้
ปวดท้องน้อยแบบเป็นซ้ำ (Recurrent Pelvic Pain)
ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic Pelvic Pain)
สามารถเกิดแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังได้ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยการรับประทานยา นอกจากนี้ยังมีอาการร่วมอื่นๆ อีกได้แก่
ในขั้นแรกแพทย์จะสอบถามอาการ และระยะเวลาในการเกิดอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจภายในร่างกาย ได้แก่
การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อหาความผิดปกติในช่องท้อง และบริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่
โรคในระบบสืบพันธุ์
โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคในระบบทางเดินอาหาร
การใช้ยา
การผ่าตัด
ป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์
อาการปวดท้องน้อยไม่ได้มีแค่ผู้ป่วยเพศหญิงเพียงเท่านั้น เพศชายก็สามารถมีอาการปวดได้ ซึ่งสาเหตุก็มักจะคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ไม่ใช่แค่โรค หรือภาวะจากระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร หรือปัสสาวะ ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอาการปวดท้องน้อย แต่ภาวะทางจิตใจที่ผิดปกติก็สามารถทำให้มีอาการได้ เช่น ผู้ที่เคยถูกล่วงละเมิด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภาวะเครียด หรือวิตกกังวล รวมทั้งผู้ที่ใช้สารเสพติด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง