เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อีกภาวะแทรกซ้อนของโรคพุ่มพวง
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อีกภาวะแทรกซ้อนของโรคพุ่มพวง

เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleuritis) คือ ชั้นเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบปอดและผนังทรวงอกทั้งสองข้างมีความผิดปกติขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางคล้ายกับกระดาษ โดยโพรงตรงช่องว่างนั้นจะมีจะมีของเหลวปริมาณเล็กน้อย เมื่ออักเสบเนื่องจากอวัยวะทางเดินหายใจมีการติดเชื้อ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของโรคพุ่มพวงหรือ SLE รวมทั้งไข้หวัดใหญ่ ขณะหายใจจะเสียดสีกัน ความรุนแรงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางรายสามารถหายเองได้ระยะเวลาไม่กี่วัน แต่อีกกรณีได้รับผลกระทบเจ็บปวด ต้องเข้าพบปรึกษากับแพทย์

 

 

สาเหตุของเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

 

ติดเชื้อไวรัส รา แบคทีเรียหรือมีพยาธิในระบบทางเดินหายใจ

 

สูดดมสารเคมีที่เป็นพิษ

 

อุบัติเหตุกระดูกซี่โครงบริเวณหน้าอกหัก

 

ได้รับการรักษาด้วยวิธีการเคมีหรือรังสีบำบัด

 

ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้แก่

 

  • หลอดลมอักเสบ

 

  • รูมาตอยด์

 

  • เม็ดเลือดแดงผิดรูป (sickle cell anaemia)

 

  • เชื้อมะเร็งปอดหรือเต้านมแพร่กระจาย

 

  • ช่องท้องผิดปกติ เช่น โรคที่เกิดจากตับ

 

  • เนื้องอกในปอด

 

  • ต่อมน้ำเหลืองอุดตัน

 

 

ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

 

 

อาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

 

  • หายใจไม่สะดวก

 

  • หอบ

 

  • คลื่นไส้

 

  • เจ็บแปลบบริเวณหน้าอก ขณะหายใจ ไอ จาม หรือเคลื่อนไหวร่างกาย

 

  • เหงื่อออกเนอะผิดปกติ

 

  • ไอเป็นโลหิต

 

 

ไอเป็นเลือด

 

 

การวินิจฉัยเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

 

เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติ สอบถามถึงอาการผิดปกติว่าเป็นมาอย่างไร นานแค่ไหน จากนั้นจะใช้เครื่องอุปกรณ์ช่วยฟังเสียงการทำงานของปอด ต่อมาจะใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์มาตรวจเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น

 

การตรวจโลหิต

 

  • เพื่อหาความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

เอกซเรย์ปอด

 

  • ดูการอักเสบของอวัยวะภายใน รวมทั้งปริมาณของอากาศหรือของเหลวบริเวณพื้นที่ปอดกับซี่โครง

 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan

 

  • จะเห็นภาพบริเวณเยื่อหุ้มปอดอย่างชัดเจน

 

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG หรือ ECG

 

  • อาจมีความผิดปกติจากหัวใจ

 

ตัดชิ้นเนื้อ

 

  • ใช้เข็มขนาดเล็กสอดผ่านผนังทรวงอกระบายของเหลวมาตรวจในห้องปฏิบัติการ

 

 

 เอกซเรย์ปอด

 

 

การรักษาเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

 

จะใช้ยาตามสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

 

ยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบ

 

  • เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน โคเดอีน

 

ยาปฏิชีวนะ

 

  • จากการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

ยาต้านเชื้อรา

 

  • เมื่อมีการติดเชื้อรา

 

ยาละลายลิ่มเลือด

 

  • ในผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

 

ยาขยายหลอดลมชนิดสูด

 

  • ขณะมีอาการหายใจลำบาก

 

หากมีภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดจะต้องทำการสอดท่อดูดของเหลวโดยเฉพาะหนองที่สะสมอยู่ออก และผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย แพทย์จะทำการฉีดยา เพื่อให้โพรงเยื่อหุ้มปอดปิด

 

 

เลิกสูบบุหรี่

 

 

การป้องกันเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

 

  • รักษาสุขภาพให้ถูกหลักอนามัย

 

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการสูบบุหรี่หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเป็นพิษ

 

  • ใส่อุปกรณ์ป้องกันลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุบริเวณหน้าอก

 

  • ตรวจสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบทางเดินหายใจ

 

  • เมื่อมีอาการผิดปกติในข้อที่กล่าวมา ควรไปพบแพทย์

 

 

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงที่สุด อีกทั้งโรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการตรวจหาความผิดปกติของปอด และเทคโนโลยีต่าง ๆ คอยให้บริการผู้ที่สนใจหรือมีความผิดปกติ เช่น การเอกซเรย์ เครื่อง CT Scan และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ รับฟังปัญหาสุขภาพของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

 

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

 

 

CT SCAN นวัตกรรมสแกนโรค

 

 

โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองเกิดจากอะไร