ปัจจุบันหนุ่มสาวยุคใหม่มีแนวโน้มแต่งงานช้า หรือแต่งงานตอนมีอายุมากขึ้น เมื่อแต่งงานช้า ปัญหาที่ตามมาคือการมีลูกตอนอายุมาก ซึ่งอาจส่งผลให้มีบุตรยาก หรือมีปัญหาด้านอื่น ๆ ตามมา หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าทำไมอายุมากขึ้นถึงมีบุตรได้ยากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เตรียมความพร้อมอย่างดี แล้วถ้าตั้งครรภ์ตอนอายุเยอะควรปฏิบัติอย่างไรถึงจะปลอดภัย บทความนี้มีคำตอบ
เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ไข่ของผู้หญิงจะมีโอกาสเสื่อมสภาพลง (Programmed Cell Dead) หรือค่อย ๆ ฝ่อตัวลงไปตามอายุที่มากขึ้น ทำให้จำนวนไข่ หรือคุณภาพของไข่ที่ออกมาลดลง ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการปฏิสนธิกับอสุจิได้น้อยลงตามไปด้วย และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธินั้นอาจเสี่ยงต่อการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ ตัวอ่อนอาจไม่ฝังตัวเพิ่มโอกาสแท้งลูกสูง รวมถึงอาจมีความเสี่ยงเรื่องโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ต่าง ๆ เช่น เบาหวาน คลอดก่อนกำหนด และครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
นอกจากความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมแล้วยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นคุณแม่และลูกน้อยได้ด้วย ดังนี้
เป็นวิธีการตรวจ โดยจะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเข้าไปเพื่อดูดน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารก แล้วนำมาตรวจหาความผิดปกติ โดยจะสามารถตรวจโรคต่าง ๆ รวมถึงปัญหาในการตั้งครรภ์ได้ ดังนี้
การตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีนั้นเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงจึงต้องฝากครรภ์ และหมั่นพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อแม่และลูกนั่นเอง