ป้องกันภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกด้วยการฝากครรภ์
ป้องกันภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกด้วยการฝากครรภ์

ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar Pregnancy/Hydatidiform Mole) คือ ภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ มีอาการเริ่มแรกเหมือนการตั้งครรภ์ทั่วไป แต่ตัวอ่อนของทารก และรกไม่เจริญปกติตามธรรมชาติ กล่าวคือ เมื่ออสุจิและไข่ได้รับการปฏิสนธิกันแล้ว แต่เซลล์ที่สร้างรกกลับทำงานผิดปกติ โดยเนื้อเยื่อของตัวอ่อนกลายเป็นเนื้องอกในมดลูก ส่งผลเกิดถุงน้ำรังไข่ หรือซีสต์ เป็นลักษณะไข่ปลา หรือพวงองุ่น เมื่อเซลล์นี้เจริญเติบโตในมดลูกแทนการเจริญเติบโตของทารก ดังนั้นผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจตามนัดหมายการฝากครรภ์อย่างเคร่งครัด

 

 

ประเภทของภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

  • 1. ครรภ์ไข่ปลาอุกอย่างเดียว (Complete Molar Pregnancy) คือ ภาวะที่เซลล์ผิดปกติเจริญเติบโตขึ้นมาทั้งหมด โดยที่ไม่มีการเติบโตของตัวอ่อน

 

  • 2. ครรภ์ไข่ปลาอุกร่วมกับการมีทารก (Partial Molar Pregnancy) คือ ภาวะที่เซลล์ผิดปกติเจริญเติบโตขึ้นมา กับตัวอ่อนของทารกที่มีความผิดปกติ ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถเติบโตได้

 

  • 3. ครรภ์ไข่ปลาอุกที่เนื้องอกรกลุกลามเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก (Invasive mole) โรคกลุ่มนี้จะมีโอกาสแพร่กระจายคล้ายโรคมะเร็งในรกได้

 

  • 4. มะเร็งไข่ปลาอุก หรือมะเร็งรก (Choriocarcinoma) ภาวะที่เซลล์ผิดปกติเจริญเติบโตขึ้นมา โดยเนื้อเยื่อของตัวอ่อนกลายเป็นเนื้องอกในมดลูกชนิดเดียวกับมะเร็ง สามารถลุกลาม และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

 

สาเหตุภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

เมื่ออสุจิและไข่ได้รับการปฏิสนธิ แต่โครโมโซมในไข่กลับผิดปกติ ไข่ที่เจริญเติบโตขึ้นมานั้นจึงไม่มีตัวอ่อนทารก สามารถแบ่งได้ตามประเภท

 

  • 1. ครรภ์ไข่ปลาอุกอย่างเดียว เกิดจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิมีโครโมโซมที่มาจากพ่อทั้งหมด ทำให้เกิดถุงน้ำในรังไข่ แทนการเจริญเติบโตของเนื้อรก ตัวอ่อน และถุงน้ำคร่ำในไข่

 

  • 2. ครรภ์ไข่ปลาอุกร่วมกับการมีทารก เกิดจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิมีโครโมโซมจากแม่ 23 โครโมโซม และจากพ่อ 46 โครโมโซม สาเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะว่า มีอสุจิสองตัวปฏิสนธิภายในไข่ใบเดียวกัน การเจริญเติบโตของทารกจึงมีความผิดปกติ จึงเรียกสาเหตุนี้ว่าการเพิ่มโครโมโซมซ้ำ (Duplication)

 

 

อาการภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

ในระยะแรกมักจะมีอาการคล้ายกับอาการตั้งครรภ์ทั่วไป เช่น ประจำเดือนขาด มีอาการแพ้ท้อง อีกทั้งยังมีอาการลักษณะเหมือนภาวะแท้ง ภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกจะมีอาการดังนี้

 

  • 1. มีเลือดจะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือสีแดงอ่อนๆ ออกมาจากช่องคลอดในช่วงอายุครรภ์ 4 – 12 สัปดาห์ และอาการอ่อนเพลียจากการเสียเลือด

 

  • 2. มดลูกขยายใหญ่ผิดปกติ ทำให้อุ้งเชิงกรานถูกกดบีบ ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง และท้องบวมขึ้น

 

  • 3. คลื่นไส้ อาเจียน จากการแพ้ท้อง

 

  • 4. ความดันโลหิตสูง และมีโปรตีนในปัสสาวะ จากภาวะครรภ์เป็นพิษ

 

  • 5. มีถุงน้ำรังไข่ (theca lutein ovarian cyst)

 

 

การวินิจฉัยภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) บริเวณหน้าอก ท้อง อุ้งเชิงกราน และสมอง

 

  • ตรวจเลือดเพื่อหาระดับของฮอร์โมน (human chorionic gonadotropin / hCG )หากผู้ตั้งครรภ์มีฮอร์โมน hCG  ในระดับต่ำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

  • อัลตราซาวด์ แพทย์จะอัลตราซาวด์ดูเนื้อเยื่อภายในท้อง บริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้ตั้งครรภ์

 

 

ครรภ์ไข่ปลาอุก

 

 

การรักษาภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

  • การขูดมดลูก (suction curettage) แพทย์จะฉีดยาชา และให้ผู้ตั้งครรภ์ ขึ้นขาหยั่งเตรียมตัวขูดมดลูก แพทย์จะสอดอุปกรณ์ เข้าไปในช่องคลอดและขูดมดลูก นำเนื้อเยื่อมดลูกออกมา ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที

 

  • การผ่าตัดมดลูก (hysterectomy) สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ และมีเนื้องอกในมดลูกชนิดเดียวกับมะเร็ง และไม่ต้องการมีบุตรในอนาคต

 

  • การทำเคมีบำบัด (prophylactic chemotherapy) แพทย์จะทำเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยที่ตัดมดลูกไปแล้ว แต่ยังมีภาวะฮอร์โมน hCG สูงร่วมด้วย

 

  • การยุติการตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันอันตรายจากการเสียเลือด และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

 

 

การป้องกันภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

  • 1. หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในช่วงอายุ ต่ำกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

 

  • 2. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่

 

  • 3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ 5 หมู่ ในทุกๆวัน

 

  • 4. เมื่อตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์โดยทันที

 

 

ผู้ที่เคยมีประวัติภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก และต้องการมีบุตรอีก แพทย์จะแนะนำให้ทำการคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี  เพื่อเฝ้าระวังอาการของภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกกำเริบ อีกทั้งผู้ที่ตั้งครรภ์อายุ 35 ปี ขึ้นไป หรือผู้เคยมีประวัติการแท้งบุตร หากตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์โดยทันที เพราะ มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมคลอด และฝากครรภ์