แมลงก้นกระดก สัตว์ร้ายในฤดูฝน
แมลงก้นกระดก สัตว์ร้ายในฤดูฝน

แมลงก้นกระดก (Rove Beetle)หรือด้วงก้นกระดก คือ สัตว์จำพวกแมลง ในตัวมันจะมีสารพีเดอริน (Paederin) ซึ่งเป็นพิษร้าย หากได้สัมผัสโดนตัวมัน หรือเผลอไปบด ขยี้ จะทำให้ผิวหนังได้รับการระคายเคือง จนกลายเป็นแผล หรือผื่นผิวหนังอักเสบได้  ทั้งนี้แมลงก้นกระดกมักจะพบในช่วงฤดูฝน โดยมันจะตามมาตอมบริเวณแสงไฟสว่างๆ  ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นดินที่ชื้น เช่น กองมูลสัตว์ กองไม้ ซึ่งเป็นแหล่งเพราะพันธุ์ของมัน ลักษณะของแมลงก้นกระดกจะความยาวเพียง 4-7 มิลลิเมตร ส่วนหัว ส่วนปีก และส่วนหางจะมีสีดำ ตรงกลางลำตัวจะมีสีส้ม

 

 

พิษของแมลงก้นกระดก

 

  • ผิวหนังจะเกิดการระคายเคือง เกิดอาการคัน แดง แสบร้อน

 

  • เกิดผื่น หรือตุ่มพองน้ำ อาจจะรู้สึกคัน หรือเจ็บ ปวด หลังสัมผัสพิษ 24 ชั่วโมงขึ้นไป

 

  • หากเกาตามผิวหนังที่ได้รับพิษ บริเวณข้อพับต่าง ๆ ผื่นจะแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ได้

 

  • หากผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสพิษ มาแล้ว 10 วัน ผื่น หรือแผลจะตกสะเก็ด

 

หลังแผลตกสะเก็ดจะเกิดรอยดำบนผิวหนังเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าหากติดเชื้อแบคทีเรียจะเกิดแผลเป็นได้

 

อาการรุนแรง

           

  • เป็นไข้

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • คลื่นไส้

           

  • อาเจียน

           

  • หากพิษเข้าดวงตา สามารถสูญเสียการมองเห็นได้

 

 

การรักษาเมื่อสัมผัสแมลงก้นกระดก

 

การรักษาด้วยตนเอง

 

  • ล้างผิวหนังที่สัมผัสพิษแมลงก้นกระดก ด้วยสบู่

 

  • ประคบเย็น

 

  • ทาว่านหางจระเข้

 

  • รับประทานยาแก้แพ้

 

การรักษาโดยแพทย์

 

  • ใช้ยาสเตียรอยด์ทาบริเวณผิวหนังที่สัมผัสพิษแมลงก้นกระดก

 

  • ประคบด้วยน้ำเกลือบริเวณที่เป็นผื่น ตุ่มพองน้ำ วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที

 

  • รับประทานยาแก้คัน เพื่อบรรเทาอาการคัน

 

  • ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ

 

 

การป้องกันแมลงก้นกระดก

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสก้นกระดก หากพบแมลงก้นกระดกใช้การเป่ามันออกไป

 

  • สวมเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวในขณะนอนหลับ

 

  • เปลี่ยนหลอดไฟให้เป็นสีเหลือง

 

  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะเตียงนอน

 

  • ปิดประตู และหน้าต่าง เพื่อป้องกันแมลงก้นกระดก

 

  • ไม่เปิดไฟทิ้งไว้ในตอนกลางคืน เพราะแมลงก้นกระดกจะมาตอมไฟ

 

 

Wound from Rove Beetle

 

 

การกำจัดแมลงก้นกระดก

 

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น แหล่งน้ำ และพื้นดินชื้นๆ

 

  • ปลูกดอกไพรีทรัมแซม รวมทั้งปลูกผักสวนครัว  กลิ่นจากดอกไม้ชนิดนี้มีคุณสมบัติ ทำลายระบบประสาทของแมลง สามารถทำให้แมลงก้นกระดกสลบ และตายได้

 

  • ฉีดสเปรย์กำจัดแมลงสูตรไร้สารเคมีไว้ตรงหลอดไฟ และรอบๆเตียงนอน

 

  • หากรอบๆ บ้านมีสนามหญ้า ควรตัดหญ้าให้สั้นลง

 

  • นำถุงขยะไปทิ้งให้ห่างไกลจากตัวบ้าน เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารของแมลงก้นกระดก

 

 

รอยแผล ผื่น หรือตุ่มพอง ที่ผิวหนังสัมผัสกับพิษของแมลงก้นกระดกนั้น หากบริเวณใบหน้า ลำคอ และแขน มีลักษณะคล้ายกับอาการของโรคงูสวัด แต่จะแตกต่างกันตรงที่ผื่นงูสวัด จะมีอาการปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทในบริเวณที่เกิดผื่น ทั้งนี้หากได้รับพิษจากก้นกระดกมาแล้ว 1 สัปดาห์แต่อาการยังไม่บรรเทาลง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา