นอนมากเกินไป แต่ทำไมตื่นมายังง่วงอยู่
นอนมากเกินไป แต่ทำไมตื่นมายังง่วงอยู่

การนอนหลับพักผ่อนเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย แต่ถ้าหากมีอาการนอนมากเกินกว่า 8 ชั่วโมง แต่ทำไมเมื่อตื่นมามีอาการง่วงนอนอยู่ ไม่สดชื่น เหมือนคนที่ได้รับการพักผ่อน นี่เป็นความเสี่ยงของโรคนอนเกิน (Hypersomnia) คือ ภาวะที่มีความการต้องการเวลานอนมากขึ้น ตื่นยาก ไม่อยากลุกจากเตียง และมีการงีบหลับในช่วงระหว่างวัน โรคนี้จะส่งผลให้เป็นโรคต่างๆ และเสียบุคลิกภาพ ทั้งนี้การนอนมากเกินไป จนทำให้เป็นโรคนอนเกินไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการเกียจคร้าน แต่เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย และจิตใจ ควรที่จะพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษา

 

 

สาเหตุของโรคนอนเกินเกิดจากอะไร

      

  • นอนหลับไม่เพียงพอเป็นเวลานาน

      

  • ปรับเวลานอนไม่ถูกต้อง

      

  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ

      

  • การหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย และการหลั่งของสารในสมองที่ผิดปกติ

      

  • ความผิดปกติทางระบบสมอง เช่น โรคทางสอง หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ

      

  • ความผิดปกติในช่วงเวลาของการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หรือนอนกรน

 

 

อาการของโรคนอนเกิน

      

  • ตื่นนอนยาก

      

  • รู้สึกง่วงตลอดเวลา

      

  • หงุดหงิดง่ายตลอดทั้งวัน

      

  • ความจำไม่ค่อยดี มีการติดขัดเมื่อใช้ความคิด

      

  • วิตกกังวล หรือโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า

      

  • มีการงีบ หรือแอบหลับในระหว่างวันอยู่บ่อยครั้ง

      

  • สามารถหลับโดยไม่รู้สึกตัวในช่วงที่ไม่ควรจะนอนหลับ อาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายได้

 

 

ผลเสียของการนอนมากเกินไป เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

     

  • โรคอ้วน เพราะการนอนมากเกินไปจะทำให้ระบบการเผาผลาญไขมันลดลง เกิดการสะสมของไขมัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น

      

  • เกิดภาวะสมองล้า คิดอะไรไม่ค่อยออก ส่งผลให้บุคลิกภาพกลายเป็นคนเฉื่อยช้า เซื่องซึม

      

  • ภาวะหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน หรือโรคใหลตาย เนื่องจากสัญญาณของสมองที่ดับไปนานกว่าผิดปกติ ส่งผลให้เนื้อสมองตายได้

      

  • โรคกระดูกพรุน และปัญหาเกี่ยวกับข้อต่างๆ เนื่องจากการนอนมากเกินไป ร่างกายจะไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน อาจทำให้กระดูก และกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาตามมาได้

      

  • ภาวะมีบุตรยาก การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะส่งผลฮอร์โมนของเพศหญิงหลั่งออกมาเป็นปกติ

      

  • โรคซึมเศร้า เนื่องจากการนอนมากเกินไปส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน เช่น การหลั่งของฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) และเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ลดต่ำลง

      

  • เสียชีวิตเร็วขึ้น เนื่องจากการนอนมากเกินไป ร่างกายจะไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จึงไม่มีออกซิเจนมาเพิ่มแก่อวัยวะภายในร่างกาย

 

 

ง่วงตลอดเวลา

 

 

ป้องกันอาการนอนมากเกินไป

      

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรกินอิ่มเกิน หรือปริมาณน้อยเกินไป

      

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม

      

  • หากหิวก่อนนอน ควรรับประทานนมอุ่นๆ 1 แก้ว จะช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น

      

  • ควรทำกิจกรรมเพื่อปรับให้ร่างกายเข้าสู่การพักผ่อน เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ

      

  • อาบน้ำก่อนนอนทุกครั้ง

      

  • ควรเข้านอนไม่เกิน 22.00 น. และตื่นนอนเวลาประมาณ 05.00 น. – 06.00 น. หรือควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง และทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ตอนเช้าตื่นมาสดใส ไม่มีอาการง่วง หรืออยากนอนต่อ

      

  • หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือควรงีบหลับไม่เกิน 1 ชั่วโมงเท่านั้น

      

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ หากใช้ในปริมาณมาก และใช้ในระยะเวลานานๆ จะส่งผลให้เกิดการดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตับ และประสาทหลอนได้

 

 

ทั้งนี้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนของบุคคลแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะวัยรุ่น และวัยทำงานควรนอนหลับพักผ่อน 7-9 ชั่วโมง นอกจากนี้การควรออกกำลังกาย จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น รวมทั้งการจัดห้องนอนให้ปลอดโปร่ง ได้รับออกซิเจนเพียงพอ  จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคนอนเกินได้

 

 

 


เนื้อหาที่แนะนำ

 

 

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)