Social Addiction ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ
Social Addiction ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ

การเสพติดโซเชียลมีเดีย  (Social  Addiction) คือ การใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลามากจนเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบกับการงาน การเรียน และการขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้การเสพติดโซเชียลมีเดียยังเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า โรคเครียด สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้เช่นกัน

 

 

อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Addiction

 

  • อยู่กับโซเชียลมีเดีย มากกว่าที่ตั้งใจไว้

 

  • ช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย มักจะมีอาการกระวนกระวายใจ หรือหงุดหงิด

 

  • พยายามที่จะควบคุมการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของตัวเอง แต่ไม่สามารถควบคุมได้

 

  • คิดถึงโซเชียลมีเดียเป็นประจำ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม

 

  • ทุกครั้งที่เครียดมักจะใช้โซเชียลมีเดียเพื่อคลายเครียด

 

  • โกหก หรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่นโซเชียลมีเดีย

 

  • มีปัญหาการทำงาน หรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

 

 

สาเหตุของการเสพติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Addiction

 

  •  สังคม เช่น วัฒนธรรมสังคมก้มหน้า การติดต่อกับกลุ่มเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดีย

 

  •  สื่อ เช่น การตลาดที่ผลิตสื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

 

  •  โรคซึมเศร้า หรือโรคสมาธิสั้น

 

 

ประเภทของการติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Addiction

 

  •  ติดสาระ ได้แก่ ติดเกม ติดการพนันออนไลน์ เป็นต้น

 

  • ติดความสัมพันธ์ ได้แก่ ติดเฟซบุ๊ก ติดแชทไลน์ เป็นต้น

 

  •  ติดอุปกรณ์ ติดรุ่นของสมาร์ตโฟน เป็นต้น

 

เสพติดโซเชียลมีเดีย

 

 

 

วิธีการป้องกันการเสพติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Addiction

 

  • พยายามจำกัดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง

 

  •  พยายามหากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การออกกำลังกาย การไปท่องเที่ยว เป็นต้น

 

  •  ปรึกษาจิตแพทย์ หรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323

 

 

ความเจริญของเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตหากใช้ถูกวิธีมันก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าหากใช้มากจนเกินไปมันจะกลายเป็นโทษต่อสภาพจิตใจกับผู้ใช้เอง ดังนั้นควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง และใช้โซเชียลมีเดียเฉพาะในเวลาที่จำเป็น