โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) หรือช่องไขสันหลังตีบแคบ คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุที่เพิ่มสูงขึ้น และมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวด รู้สึกเสียวแปล๊บ ชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งถ้าหากมีอาการรุนแรงของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ แพทย์จะรักษาผู้ป่วยด้วยการผ่าตัด

 

 

สาเหตุของโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

 

เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมลง จะส่งผลกระทบต่อการรับน้ำหนัก ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลัง และข้อกระดูกสันหลังขยายใหญ่ขึ้น มีการหนาตัวของเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ จนกระทั่งเกิดการกดทับของเส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลัง

 

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ในการเกิดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เช่น

      

  • เนื้องอกในไขสันหลัง

      

  • เส้นเอ็นยึดกระดูกสันหลังหนาผิดปกติ

           

  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง

 

 

อาการของโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

      

  • ขา หรือเท้ามีอาการอ่อนแรง

      

  • ขา และเท้ามีอาการเสียวแปล๊บ

      

  • ปวดหลัง ปวดเอว และปวดสะโพก

      

  • เป็นตะคริวที่ขา

      

  • ไม่สามารถเดินได้เกินในระยะ 150 เมตร

 

 

การวินิจฉัยโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

      

  • การเอกซเรย์ (X-Ray) แพทย์จะทำการเอกซเรย์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังของผู้ป่วย

      

  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI แพทย์สามารถพบความเสียหายบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลังของผู้ป่วย ส่งผลให้แพทย์สามารถทำการระบุตำแหน่งบริเวณเส้นประสาทในไขสันหลังที่ถูกกดทับ

 

 

การรักษาโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

      

  • การใช้ยาแก้อักเสบ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน นาพร็อกเซน และอะเซตามิโนเฟน อีกทั้งการใช้ยาประเภทเหล่านี้ไม่ควรใช้ในระยะยาว

      

  • การฉีดสเตียรอยด์ สามารถช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด แต่การฉีดสเตียรอยด์นั้นมีความเสี่ยงในการเกิดการระคายเคืองบริเวณรากประสาท และบวมบริเวณจุดที่ฉีด อีกทั้งการฉีดสเตียรอยด์ซ้ำ จะส่งผลให้กระดูกในบริเวณใกล้เคียง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอ่อนแอ

      

  • การทำกายภาพบําบัด หลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำกายภาพบําบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยมีการทรงตัวที่ดีขึ้น ช่วยสร้างความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง รวมทั้งความแข็งแรงของร่างกาย

      

  • การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดการกดทับที่กระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังโดยใช้ภาพถ่ายทางรังสี (PILD) การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวแบบแผลเล็ก (MILD)  และการผ่าตัดขยายโพรงกระดูกสันหลัง (Laminoplasty)

 

 

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

 

 


บุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

      

  • ผู้ใหญ่วัยกลางคน อายุ 50 ปีขึ้นไป

      

  • ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน

      

  • ผู้เป็นโรคอ้วนลงพุง มีน้ำหนักมาก

      

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

      

  • ผู้ที่ทำงาน หรือทำกิจกรรมที่ต้องยกของหนักๆ บ่อยครั้ง

      

  • ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง

 

 

การหลีกเลี่ยง หรือการป้องกันโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ยาก เพราะ ตามธรรมชาติร่างกายของมนุษย์จะต้องประสบกับความเสื่อมของอวัยวะต่างๆเป็นปกติ แต่การรักษาโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้อาการไม่รุนแรงมาก อีกทั้งการผ่าตัดในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี เช่น กล้องกล้องเอ็นโดสโคป ที่สามารถช่วยลดขนาดแผล ลดภาวะแทรกซ้อน และลดการพักฟื้นของผู้ป่วยโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ช่วยให้กลับมาดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น