ทุกคนน่าจะรู้จักโรคนี้เป็นอย่างดี จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราได้ยินชื่อโรคนี้กันบ่อยคือ เวลาที่ถูกของมีคมขึ้นสนิมบาด ผู้ปกครองก็จะบอกให้รีบไปล้างทำความสะอาดแผลทันที เพราะกลัวจะเป็นบาดทะยัก อีกหนึ่งสิ่งที่จะเป็นภาพจำของผู้คนมากที่สุดคือ บาดทะยักจะเกิดจากแผลที่ถูกของมีคมขึ้นสนิมบาด ในความเป็นจริงสนิมเป็นเพียงแค่ 1 ในสาเหตุเท่านั้นเอง
บาดทะยัก หรือ Tetanus เกิดขึ้นมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium tetani (คลอสทริเดียม เททานี) มีรูปร่างเป็นแท่ง ส่วนปลายมีสปอร์ ซึ่งก็คือจุดพักตัวของแบคทีเรีย เพื่อรอการเจริญเติบโต สามารถพบได้ในฝุ่น ดิน และมูลสัตว์ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน และเป็นกับทุกเพศทุกวัย ส่งผลให้การทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อม หลังจากนั้นจะเกิดอาการตึงและกระตุก ซึ่งบาดทะยักก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้
กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดอาการเกร็งเป็นระยะ คอและหลังเกร็ง ปากไม่สามารถอ้าได้
ปวดตามกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
เหงื่อออกเยอะ หัวใจเต้นเร็ว เริ่มหายใจไม่ออก
เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
กลืนน้ำลายลำบาก น้ำลายไหล ปวดกรามและศีรษะ
ลิ่มเลือดเกิดอุดหลอดเลือดดำ
หายใจลำบาก เพราะกล้ามเนื้อบริเวณกล่องเสียงหดเกร็ง
มีอาการปอดบวม
หัวใจและหลอดเลือดติดเชื้อ
ถ้ากล้ามเนื้อหดตัวอย่างรุนแรง อาจจะทำให้ผู้ป่วยกระดูกหักบริเวณสันหลัง แขนและขา ได้
แผลจากการสักและเจาะ
แผลที่โดนไฟไหม้
แผลจากการโดนของมีคมบาด
การใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด
แผลสดที่ปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอม
แผลที่เกิดจากการผ่าตัด
ทำความสะอาดแผลเบื้องต้นด้วยการขจัดสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม ออกจากแผล
อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบาก
แพทย์อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เพราะเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อภายในร่างกาย
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย
ทำการเปิดปากแผลให้กว้าง แล้วทำความสะอาด จากนั้นให้ตัดเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วออก สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยแผลยังไม่หายดี
ผู้ที่ต้องทำงานที่เสี่ยงต่อการถูกของมีคมบาด ควรต้องฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า
ระมัดระวังไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล
ฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักและคอตีบตามกำหนด
หากเกิดอุบัติเหตุและมีแผล ควรเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำเกลือ ตามด้วยเบตาดีนเพื่อฆ่าเชื้อ
ใช้ปลาสเตอร์หรือผ้าก๊อซปิดแผล
ความเป็นจริงแล้วบาดทะยักไม่ได้เกิดขึ้นจากสนิมอย่างเดียว แต่สามารถเกิดจากสิ่งของอื่นที่มีความสกปรกปะปนอยู่ด้วย ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักและคอตีบตามกำหนดเวลา หากผู้ป่วยท่านไหนที่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นแผลขึ้นมา หลังจากนั้นเริ่มรู้สึกว่ามีอาการรุนแรงขึ้น และเข้าข่ายอาการบาดทะยัก ควรรีบแจ้งคนในครอบครัวและคนใกล้ตัว เพื่อพาเข้าพบแพทย์ทันที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง