ลำไส้อักเสบ
ลำไส้อักเสบ ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) เกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุผิวบริเวณลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง ทำให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร และทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวดท้อง แต่หลายคนอาจจะมองว่าโรคนี้เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง เพราะคิดว่าแค่กินยาก็หายเองได้ แต่หากเป็นซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งอาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่อันตรายถึงชีวิตได้ และยังมีอีกหลายคนที่มีความสงสัยว่าการรับประทานกล้วยสามารถรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังได้ วันนี้ทางโรงพยาบาลเพชรเวชจะช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคนี้รวมถึงวิธีการรักษาร่วมด้วย 

 

 

อาการของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

 

  • ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้อง เนื่องจากลำไส้บีบตัว
     
  • อาจเกิดอาการท้องร่วงกะทันหัน ถ่ายวันละ 10-20 ครั้ง
     
  • อาจมีมูก หรือเลือดปนมากับอุจจาระในบางรายอาจมีไข้ขึ้นสูงร่วมด้วยได้
     
  • คลื่นไส้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
     
  • นอกจากอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้ออักเสบ ตาอักเสบ เป็นต้น

 

 

สาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

 

อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ เมื่อมีสารพิษปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไป ภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมอาจกลับมาทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายแทน ทำให้รักษายากและใช้เวลานาน ทำให้เกิดอาการลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังในที่สุด 

 

 

การป้องกันลำไส้อักเสบ

 

โรคนี้สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพราะเป็นโรคที่เกิดกับระบบทางเดินอาหารโดยตรง หากเราสามารถดูแลเรื่องสุขอนามัยในการรับประทานอาหารจะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้ 

 

  • ไม่ควรรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ ควรทานเป็นมื้อเล็ก ๆ 5 หรือ 6 มื้อ และควรดูแลความสะอาดของอาหารอยู่เสมอ  

  • ปรับพฤติกรรมการดื่มน้ำ โดยดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอใน 1 วัน งดการดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเพราะส่งผลให้ลำไส้ทำงานมากขึ้น 

  • ควรดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือทั้งก่อน และหลังรับประทานอาหาร รวมถึงควรตรวจดูภาชนะที่ใส่อาหารว่าสะอาดหรือไม่

 

 

โรคลำไส้อักเสบเรื่องกล้วย ๆ

 

สำหรับการรักษาโรคลำไส้อักเสบผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยเนื่องจากจะทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการทานผลไม้รวมไปถึงกล้วยด้วยเช่นกัน แต่หากกล่าวถึงการป้องกันกล้วยถือเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถป้องกันโรคทางกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี แต่ไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากจนเกินไป

 

 

เพิ่มจุลินทรีย์สู้โรคลำไส้

 

หนึ่งในวิธีที่เราสามารถทำได้ง่ายและมีผู้สงสัยกันเป็นอย่างมากว่าโยเกิร์ตสามารถช่วยเกี่ยวกับโรคทางลำไส้ได้หรือไม่ คำตอบคือมีส่วนช่วยได้เนื่องจากในโยเกิร์ตมีจุลินทรีย์ที่สามารถช่วยป้องกันโรคทางลำไส้ได้ แต่ต้องเป็นโยเกิร์ตที่มีไขมันต่ำ และไม่ควรบริโภคในปริมาณมากเกินไป
 

 

การรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

 

 

โดยทั่วไปโรคลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลันมักสามารถหายเองได้เพียงแต่ต้องมีการให้น้ำเกลือเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยอ่อนเพลียจากภาวะขาดน้ำ แต่หากผู้ป่วยมีอาการท้องเสียรุนแรงมากหรือมีไข้สูงอาจต้องให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ท้องเสียอย่างยาโลเพอราไมด์ แต่หากแพทย์พบว่าสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียก็อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อและควบคุมการติดเชื้อ หากอาการของโรครุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา แพทย์จะผ่าตัดลำไส้บริเวณที่อักเสบออก
 

 

การตรวจวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้อง

 

การส่องกล้องทางเดินอาหาร คือการใช้เทคโนโลยีด้วยกล้องขนาดเล็กเพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และทำการรักษาอาการผิดปกติดังกล่าว โดยโรคที่อันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร คือ โรคมะเร็งในทางเดินอาหารและเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการส่องกล้องทางเดินอาหารจะทำให้พบเจอมะเร็งในทางเดินอาหาร หากรักษาได้ทันจะทำให้ปลอดภัยจากโรคนี้ได้ โดยทางโรงพยาบาลเพชรเวชมีการบริการส่องกล้องทางเดินอาหารพร้อมแพ็กเกจ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนี้การส่องกล้องทางเดินอาหารยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ระบบทางเดินอาหารส่วนบน โดยจะทำการส่องตั้งแต่หลอดอาหารถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

  • ระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยจะทำการส่องตั้งแต่ลำไส้เล็กส่วนปลายถึงปากทวารหนัก
     

 

ส่องกล้องทางเดินอาหารไม่น่ากลัว

 

ขั้นตอนการส่องกล้องทางเดินอาหาร

 

  • แพทย์จะทำการพ่นยาชาที่คอก่อนการส่องกล้อง หากคนไข้มีความเครียดหรือกังวล แพทย์จำเป็นต้องให้ยาคลายเครียดด้วย

  • คนไข้ต้องนอนตะแคงมาทางซ้าย และต้องใส่อุปกรณ์กันกัดกล้องไว้ในปาก

  • เมื่อแพทย์ทำการส่องกล้อง ผู้ป่วยต้องค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจเพื่อลดอาการอึดอัด โดยปกติจะใช้เวลา 10-15 นาที

 

 

การส่องกล้องทางเดินอาหารไม่น่ากลัวอย่างที่คิด


การตรวจไม่ได้สร้างความเจ็บปวดแต่ผู้ป่วยแต่อย่างใด เพราะใช้ยานอนหลับ หรือยาชา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ทั้งนี้โรคในระบบทางเดินอาหารบางโรคอาจไม่แสดงอาการออกมาในช่วงแรก การส่องกล้องในระบบทางเดินอาหารจึงเป็นวิธีที่ดีในการตรวจพบเจอชิ้นเนื้อร้ายก่อน เพื่อง่ายต่อการรักษาก่อนที่โรคนั้นจะลุกลาม ซึ่งยากต่อการรักษา และมีค่าใช้จ่ายสูง


พูดคุยกับเรา :  LINE คลิก 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้