เพราะเหตุใด ผู้ป่วยโรคไต ถึงไม่ควรบริโภคมะเฟือง
เพราะเหตุใด ผู้ป่วยโรคไต ถึงไม่ควรบริโภคมะเฟือง

มะเฟือง (Star fruit) เป็นผลไม้ที่มีทั้งคุณประโยชน์ และส่งผลให้เกิดภาวะพิษต่อร่างกายได้ เพราะว่ามะเฟืองมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต สารออกซาเลต (oxalate)  ที่จะไปจับกับแคลเซียมจนเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกที่ไต ส่งผลให้เกิดไตวาย กรดอ็อกซาลิกที่ทำให้อาการของผู้ป่วยโรคไตรุนแรงขึ้น พร้อมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วในปัสสาวะ นี่คือสาเหตุที่ผู้ป่วยโรคไตถึงไม่ควรบริโภคมะเฟือง

 

 

ทำความรู้จักกับมะเฟือง

 

มะเฟือง (Star fruit) ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa carambola L. เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซีย เป็นผลไม้ที่นิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย และมาเลเซีย อีกทั้งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ก็มีการเพาะปลูกมะเฟือง ผลไม้ที่มีลักษณะเป็นทรงกระสวย เมื่อหั่นเป็นแนวขวางจะเป็นรูปคล้ายดาวห้าแฉก ผลสีเขียว เมื่อสุกงอมผลจะเป็นสีเหลือง จะมีรสชาติเปรี้ยว เฝื่อน บางสายพันธุ์ก็มีรสชาติหวาน ซึ่งพันธุ์ของมะเฟืองที่พบในประเทศไทย ได้แก่

      

  • พันธุ์พื้นเมือง มีรสชาติเปรี้ยว

      

  • พันธุ์มาเลเซีย มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว และมีน้ำในผลมะเฟืองเยอะ

           

  • พันธุ์ไต้หวัน มีรสชาติหวาน กลีบบาง

           

  • พันธุ์กวางตุ้ง ผลมะเฟืองเป็นสีขาว ขอบบริเวณกลีบเป็นสีเขียว รสชาติหวาน

 

 

คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง

 

คุณค่าทางโภชนาการ ที่จะได้จากมะเฟือง 100 กรัม ได้แก่

      

  • พลังงาน 31 กิโลแคลอรี

      

  • คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม

      

  • น้ำตาล 3.98 กรัม

      

  • ไขมัน 0.33 กรัม

      

  • โปรตีน 1.04 กรัม

      

  • วิตามินบี 1 0.014 มิลลิกรัม

      

  • วิตามินบี 2 0.016 มิลลิกรัม

      

  • วิตามินบี 3 0.367 มิลลิกรัม

      

  • วิตามินบี 5 0.391 มิลลิกรัม

      

  • วิตามินบี 6 0.017 มิลลิกรัม

      

  • วิตามินบี 9 12 ไมโครกรัม

      

  • วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม

      

  • วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม

      

  • ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม

      

  • ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม

      

  • ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม

      

  • ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม

      

  • ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม

      

  • ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

      

  • ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

 

 

ประโยชน์ของมะเฟือง

 

  • น้ำคั้นจากมะเฟืองช่วยขจัดรังแคบนหนังศีรษะได้

      

  • เสริมสร้างสร้างฟันให้แข็งแรง และป้องกันเลือดออกตามไรฟัน

      

  • ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่ช่วยในการรักษาสิว ฝ้า บำรุงผิวพรรณ

      

  • เป็นยาขับเสมหะได้

      

  • ควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นไปอย่างปกติสม่ำเสมอ

      

  • ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

      

  • ป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง

      

  • หากเป็นไข้มะเฟืองสามารถช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้

      

  • ช่วยลดความอ้วน

      

  • ช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้น

      

  • เป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยดับกระหายได้

      

  • ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดอาการฟุ้งซ่าน

      

  • ผลมะเฟืองเมื่อคั้นเป็นน้ำสามารถช่วยลบรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้

 

 

ภาวะพิษของมะเฟือง

 

ภาวะพิษของมะเฟืองไม่ได้เกิดขึ้นกับไตเพียงอย่างเดียว หากบริโภคมะเฟืองในปริมาณที่มาก จะส่งผลกระทบต่อระบบบต่างๆ ในร่างกาย

 

1. พิษต่อไต

      

  • ผู้ป่วยจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน หลังรับประทานมะเฟืองผ่านไปหลายชั่วโมง  รวมทั้งมีอาการความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด ปัสสาวะออกมาน้อย  เนื่องจากของเสียที่คั่งค้างอยู่ในไตไม่สามารถขับออกมาได้ อาจจะต้องได้รับการฟอกเลือดล้างไต ซึ่งต้องใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ ไตถึงจะสามารถทำงานได้เป็นปกติ

 

2. พิษต่อระบบประสาท

 

  • มักจะเกิดในผู้ป่วยที่รับประทานมะเฟืองเป็นจำนวนมาก จะเกิดภาวะสมองบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  เนื่องจากการเกิดผลึก calcitum oxalate ที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดที่บริเวณเยื่อหุ้มสมอง แต่ภาวะพิษต่อระบบประสาทที่เกิดจากการรับประทานมะเฟืองนั้น เกิดขึ้นได้น้อย

 

3. พิษต่อระบบทางเดินอาหาร

      

  • ในมะเฟืองมีสารอ็อกซาลิก ซึ่งมีสถานะเป็นกรด หากรับประทานมะเฟืองในปริมาณที่มากจะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร หากมีอาการรุนแรงจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง รวมทั้งรับประอาหาร และดื่มน้ำได้น้อยลง

 

 

ปัจจัยในการเกิดโรคจากการบริโภคมะเฟือง

      

  • ชนิดพันธุ์ของมะเฟือง มะเฟืองที่มีรสชาติเปรี้ยวจะมีกรดอ็อกซาลิกมากกว่ามะเฟืองที่มีรสชาติหวาน ดังนั้นผู้บริโภคมะเฟืองที่มีรสชาติเปรี้ยวจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่า

      

  •  ปริมาณ หากรับประทานมะเฟืองในปริมาณที่มาก จะได้รับสารออกซาเลตที่สูงขึ้น

      

  •  วิธีการบริโภค หากหากรับประทานมะเฟืองที่ผ่านการแปรรูป เช่น การดอง การเชื่อม หรือการตากแห้ง สารออกซาเลตจะมีปริมาณลดน้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ จะน้อยกว่าการบริโภคมะเฟืองสด

      

  •  การดูดซึม การรับประทานมะเฟืองขณะที่ท้องว่าง สารออกซาเลตจะถูกดูดซึมอย่างอิสระ และถูกขับออกทางไต แต่ถ้าหากรวมตัวกับแคลเซียม จะตกผลึกเป็นแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อไต ส่งผลให้เกิดไตวายได้

      

  •  ภาวะขาดน้ำ หากรับประทานน้ำมะเฟือง หลังจากการออกกำลัง หรือสูญเสียเหงื่อมากๆ จะเกิดการตกผลึกแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อไตได้ง่าย ส่งผลให้เกิดไตวายได้

 

 

 Star fruit

 

 

วิธีการบริโภคมะเฟืองที่ดีต่อสุขภาพ

      

  • 1. เลือกผลมะเฟืองที่สุก ไม่เน่าเสีย หรือผลดิบจนเกินไป

      

  • 2. ก่อนรับประทานควรล้างผลมะเฟืองให้สะอาด

      

  • 3. หั่นมะเฟืองให้เป็นชิ้นพอดีคำ นำเมล็ดออกก่อนรับประทาน

      

  • 4. รับประทานมะเฟือง ในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป

      

  • 5. ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์จากมะเฟือง

 

 

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคมะเฟือง

 

  • ผู้ที่รับประทานยาลดไขมัน

 

  • ผู้ที่รับประทานยาคลายเครียด

 

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือกำลังจะฟอกไต

 

  • ผู้ป่วยโรคนิ่ว

 

  • ผู้ป่วยภาวะขาดน้ำ

 

 

แม้ว่ามะเฟืองจะเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยโรคไต แต่บุคคลปกติสามารถบริโภคมะเฟืองได้ในปริมาณที่พอดี นอกจากผลของมะเฟือง ที่สามารถนำมารับประทานได้แล้ว ส่วนต่างๆ ของมะเฟืองสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายได้ เช่น การนำรากของมะเฟืองมาต้ม เพื่อแก้อาการปวดตามร่างกาย  การรักษาอาการท้องร่วง ใบของมะเฟือง หากนำมาตำแล้วพอกบนผิวหนัง สามารถแก้การอักเสบ หรืออาการช้ำ บวมตามร่างกายได้ รวมทั้งการรักษาตุ่มจากโรคอีสุกอีใส ผื่นคันทั่วร่างกาย กลาก เกลื้อน เป็นต้น 

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต