อวัยวะภายในร่างกาย ล้วนมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละอวัยวะ ถ้าหากพูดถึงไส้ติ่งน้อยคนนักจะรู้ว่าอวัยวะนี้ทำหน้าที่อะไร ส่วนใหญ่จะรู้จักแต่โรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะนี้ คือ โรคไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งไส้ติ่งนั้นเชื่อว่ามีหน้าที่ในการสะสมแบคทีเรีย ที่ใช้ในกระบวนการย่อยอาหาร เพราะอวัยวะนี้จะเป็นท่อปลายปิดที่ต่อมาจากลำไส้ส่วนต้น หากไส้ติ่งเกิดการอุดตัน จะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างฉับพลัน หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมไส้ติ่งที่ดูเหมือนจะเป็นอวัยวะที่แทบไม่ได้มีหน้าที่ใด ๆ จะเกิดการอักเสบได้อย่างไร แล้วหากมีอาการปวดท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นไส้ติ่งอักเสบ และต้องได้รับการผ่าตัด วันนี้เรามีคำตอบ
โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) มักเกิดจากของเสีย, สิ่งแปลกปลอม หรืออุจจาระที่เคลื่อนลงไปอุดตันในไส้ติ่ง ทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม, มีเลือดคั่ง และกระจายไปที่ผนังไส้ติ่งจนเกิดการอักเสบ กลายเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบในที่สุด หากไส้ติ่งแตกทะลุจนเกิดการติดเชื้อในช่องท้องแล้วกลายเป็นติดเชื้อในกระแสเลือด อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
โดยอาการจะแบ่งออกตามระยะของโรค ได้แก่
ระยะที่ 1
เป็นระยะแรกที่ไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องบริเวณรอบสะดืออย่างฉับพลัน, จุกแน่นท้อง และเบื่ออาหาร
ระยะที่ 2
เป็นระยะที่ไส้ติ่งเริ่มบวม โดยจะมีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หากมีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน, ไอ หรือจาม จะรู้สึกเจ็บมากขึ้น บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย
ระยะที่ 3
เป็นระยะที่อันตราย เพราะไส้ติ่งแตก และเชื้อแบคทีเรียกำลังแพร่กระจายในช่องท้อง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้น และหากไม่ได้รับการผ่าตัดจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้
ตรวจเลือด แพทย์จะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวเยอะหรือไม่ หากเม็ดเลือดขาวมีปริมาณมาก จะสามารถบ่งบอกถึงการติดเชื้อได้
การผ่าตัดแบบเปิด
ผู้ป่วยจะมีบาดแผลบริเวณท้องน้อยด้านขวา ใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน
การผ่าตัดไส้ติ่งแบบส่องกล้อง
จะมีแผลขนาดเล็กเพียง 2-3 แผล คือ แผลบริเวณใต้สะดือ, บริเวณด้านซ้าย และด้านขวาของท้องน้อย หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยจะปวดแผลน้อย และเป็นการผ่าตัดที่ใช้กล้องส่อง จึงทำให้มีความแม่นยำ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
การดูแลตนเองหลังผ่าตัด
รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด
หลังเย็บแผล กล้ามเนื้ออาจจะไม่แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงการทำงาน หรือยกของหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไส้เลื่อนแผลผ่าตัดขึ้น
การติดตามผลว่าแผลเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าเริ่มปกติแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการตัดไหมให้ผู้ป่วย
การรักษาไส้ติ่งอักเสบ จะมีเพียงการผ่าตัดเอาไส้ติ่งที่อักเสบออกเท่านั้น โดยต้องผ่าตัดให้เร็วที่สุด เพราะหลังจากเกิดการอักเสบแล้ว ไส้ติ่งอาจจะเน่า และแตกทะลุภายใน 24-36 ชั่วโมง หากไส้ติ่งแตกจะมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เสียชีวิตสูง โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และมีภาวะช็อกได้
บางคนอาจมีความเชื่อว่าการรับประทานเม็ดฝรั่ง หรือเม็ดของผลไม้อื่น ๆ จะทำให้ไปอุดตันที่ไส้ติ่ง และส่งผลให้เกิดไส้ติ่งอักเสบ แต่ความจริงแล้วสิ่งที่ไปอุดตันในไส้ติ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นอุจจาระของเราเอง สาเหตุที่มาจากการรับประทานเม็ดของผลไม้มีความเป็นไปได้ แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก
นิ่วในท่อปัสสาวะ
หลอดเลือดแดงขาหนีบโป่งพองอักเสบ
ไส้เลื่อนขาหนีบ
หากปวดท้องด้านขวาในกรณีของสตรี อาจเสี่ยง
ตั้งครรภ์นอกมดลูก
ถุงน้ำในรังไข่
เนื้องอกรังไข่
การติดเชื้อที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
ไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วนที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรือความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการเสียชีวิต ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีอาการ หรือความเสี่ยงว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาให้เร็วที่สุด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง