ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณอันตรายจากกระดูกสันหลัง
ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณอันตรายจากกระดูกสันหลัง

อาการปวดหลังร้าวลงขา คือ อาการปวดหลังบริเวณเอวร้าวลงมาบริเวณสะโพก และร้าวลงมาปวดที่ขา ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนอันตรายจากกระดูกสันหลัง เช่น การเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ กล้ามเนื้อหลังอักเสบ หรือการเกิดอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง อีกทั้งกิจวัตรประจำวัน เช่น การก้ม การบิดเอว และการยกของหนักๆ เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา มักจะเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน และผู้สูงอายุ หากมีอาการแบบนี้แล้ว ไม่ควรปล่อยให้มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา

 

  • 1. กระดูกสันหลังเสื่อม เมื่อข้อต่อกระดูกสันหลังมีความเสื่อมตามอายุ กระดูกจึงเคลื่อนมาทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ

 

  • 2. กล้ามเนื้ออักเสบ เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังส่วนล่างที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง จึงเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา

 

  • 3. หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากเปลือกหมอนรองกระดูกฉีกขาด และเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น ส่งผลให้กระดูกส่วนนี้ไปกดทับเส้นประสาทที่ออกมาบริเวณรูกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแบบแปล๊บร้าวลงขา มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยวัยทำงาน

 

  • 4. เกิดการกดทับของเส้นประสาทจากสาเหตุอื่นๆ เช่น กระดูกสันหลังงอก กระดูกสันหลังมีการแตก หัก และ กระดูกสันหลังเกิดการติดเชื้อ เป็นต้น

 

 

อาการปวดหลังร้าวลงขาที่เป็นอันตราย

 

  • 1. ปวดหลัง หรือปวดเอว และสะโพกแบบเป็นๆ หายๆ นานกว่า 2 สัปดาห์

 

  • 2. มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ร่วมกับมีอาการชาบริเวณน่อง และเท้า

 

  • 3. เป็นตะคริว รวมทั้งบริเวณขามีอาการชา ส่งผลให้เป็นอุปสรรคกับการเดิน ไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ

 

  • 4. มีอาการขาอ่อนแรง ไม่สามารถกระดกข้อเท้า  รวมทั้งไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

 

หากมีอาการเหล่านี้ในข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อการเข้ารับการรักษาโดยด่วน

 

 

การวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขา

 

  • 1. แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย เช่น ระยะเวลาในการเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา

 

  • 2. การถ่ายภาพรังสี (X-ray)

 

  • 3. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

 

  • 4. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

การรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขา

 

การรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคตามลำดับ ได้แก่

 

  • 1. การรับประทานยาแก้ปวด

 

  • 2. การฉีดยา

 

  • 3. การทำกายภาพบำบัด

 

  • 4. การผ่าตัด

 

  • 5. การทำเลเซอร์ (Laser)

 

 

ปวดหลังร้าวลงขา

 

 

การป้องกันอาการปวดหลังร้าวลงขา

 

  • 1. เมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ให้หยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ทันที

 

  • 2. ปรับท่านั่ง ท่ายืนในการทำงาน และท่านอน ให้ถูกลักษณะ

 

  • 3. ทำกายบริหารกล้ามเนื้อหลังให้ถูกลักษณะ แต่ถ้าหากทำแล้วมีอาการปวด ควรหยุดทำโดยทันที

 

  • 4. ไม่ควรปล่อยให้อาการปวดหลังร้าวลงขาเรื้อรังเป็นเวลานาน ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

 

 

การรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขาด้วยการผ่าตัดในปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีกล้องเอ็นโดสโคป และการใช้เข็มเลเซอร์มาใช้แทนการผ่าตัดแบบเก่า เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้มีภาวะฟื้นตัวได้ไวขึ้น มีขนาดแผลเล็ก ลดการสูญเสียเลือด อีกทั้งเทคโนโลยีกล้องเอ็นโดสโคป และการเลเซอร์มีความแม่นยำ และปลอดภัยแก่ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น