โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ปัญหาของคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะผู้หญิง และผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากแคลเซียมในร่างกายที่ไม่เพียงพอ ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง จนเกิดการแตกหักได้ง่าย อีกทั้งโรคนี้ยังเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือน แต่สามารถพบเจอโรคนี้ได้ผ่านการตรวจความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งจะทำให้เราเตรียมตัวรับมือได้ทัน ก่อนเกิดความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตขึ้น
โรคกระดูกพรุนเป็นอย่างไร ?
โรคกระดูกพรุน คือการสูญเสียแคลเซียมในกระดูก ส่งผลให้เซลล์สร้างกระดูกแล้วเกิดการทำลายกระดูก มากกว่าการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง และไม่สามารถรับน้ำหนักได้อย่างที่เคยเป็น ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง แตกหักได้ง่าย และอาจส่งผลต่อส่วนสูง ทำให้ส่วนสูงลดลง โดยกระดูกส่วนที่พบว่ามักเป็นโรคกระดูกพรุนมากที่สุด คือ กระดูกข้อสะโพก, กระดูกสันหลัง หรือกระดูกปลายแขน เป็นต้น ปกติแล้วผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว แต่อาการจะแสดงออกหลังจากร่างกายได้รับความเสียหายจนกระดูกหัก ซึ่งการหักของกระดูกจะง่ายกว่าคนทั่วไป โรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และจะยิ่งเสี่ยงมากขึ้นตามอายุ และรุนแรงถึงขั้นพิการได้
เซลล์กระดูก จะประกอบไปด้วยเซลล์สร้างกระดูกและเซลล์สลายกระดูก โดยทั้งสองเซลล์จะทำหน้าที่แตกต่างกัน อย่างเช่น เซลล์สร้างกระดูก จะทำหน้าที่สร้างกระดูกใหม่จากแคลเซียมกับโปรตีน เพื่อช่วยทดแทนกระดูกส่วนที่มีการสึกหรอ และเซลล์สลายกระดูก จะมีหน้าที่ในการสลายเนื้อกระดูกเก่า ทั้งนี้ เมื่อปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างกระดูก หรือเซลล์กระดูกที่ทำงานไม่สมดุลกันเนื่องจากเกิดความผิดปกติขึ้น อาจทำให้กระบวนการสร้างกระดูกเกิดการสลายมากกว่าที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ จึงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนขึ้นมา
ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
คนผิวขาวมักมีมวลกระดูกที่น้อยกว่าคนผิวเข้ม
ร่างกายขาดวิตามินดี และแคลเซียม
ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
การดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์มากเกินไป
เพศหญิงที่ประจำเดือนหมดเร็ว
โรคประจำตัว เช่น โรคข้อ, โรคเบาหวาน, โรครูมาตอยด์, ภาวะฮอร์โมนต่ำ หรือพาราไทรอยด์สูง เป็นต้น
โรคนี้ไม่มีอาการที่แสดงออกให้เห็นชัด จัดว่าเป็นภัยเงียบอย่างหนึ่ง กว่าจะรู้ตัวกระดูกของเราคงเสียหายไปมากแล้ว ดังนั้น เราจึงต้องสังเกตจากสัญญาณแทน เช่น
หลังค่อม, โก่ง
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง
การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว หรือกระฉับกระเฉงเหมือนเคย
ภายใน 1 ปี ความสูงจะลดลงมากกว่า 6 ซม.
กระดูกสันหลังเกิดการยุบตัว
กระดูกแตกหักง่าย แม้จะมีการกระทบกระเทือนแบบไม่รุนแรง
อาจเกิดอาการปวดหลังเรื้อรังขึ้นได้
หากปล่อยไว้จนรุนแรง อาจเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
มีโอกาสที่กระดูกจะแตกหักได้ง่าย แม้จะมีการกระแทกที่ไม่ได้รุนแรง
มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง, เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว
เมื่อการเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติ จึงทำให้มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมบางชนิด อาจเสี่ยงให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยบางรายได้
อาจเกิดแผลกดทับขึ้นในผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้พิการที่เดินไม่ได้
อวัยวะภายในช่องท้องและทรวงอกมีการทำงานที่ผิดปกติ
แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Bone Densitometer เพื่อตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยการใช้รังสี แต่เครื่องมือที่แพทย์มักใช้บ่อย คือ DEXA Scan ซึ่งจะใช้ตรวจความหนาแน่นของกระดูกเหมือนกัน แต่มีความแม่นยำที่สูง, ใช้เวลาในการสแกนที่น้อย, ปริมาณของรังสีที่เข้าสู่ร่างกายต่ำ, ไม่สร้างความเจ็บปวด และมีประสิทธิภาพสูงในการประเมินความหนาแน่นของกระดูกผู้ป่วย โดยความหนาแน่นของกระดูก จะแบ่งออกดังนี้
กระดูกปกติ ค่ามวลกระดูกจะอยู่ในช่วง 1 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยค่ามวลจะมากกว่า -1
กระดูกโปร่งบาง ค่ามวลกระดูกจะอยู่ระหว่าง 1 - 2.5 โดยค่ามวลจะอยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5
กระดูกพรุน ค่ามวลกระดูกจะอยู่ในช่วง 2.5 หรือต่ำกว่า โดยค่ามวลจะน้อยกว่า -2.5
การรับประทานยา ให้ยาที่มีฤทธิ์ระงับการทำงานของเซลล์สลายกระดูก เพื่อลดอัตราการสลายของกระดูก และลดความเสี่ยงไม่ให้กระดูกแตกหักง่าย เพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้มากขึ้น โดยจะมีทั้งยาแบบรับประทานและแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เช่น ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือยาฮอร์โมนแคลซิโตนิน เป็นต้น
การเพิ่มฮอร์โมน อาจมีการเพิ่มฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างแคลเซียม เช่น การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสำหรับผู้ป่วยเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในวัยที่หมดประจำเดือนไปแล้ว เพราะร่างกายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเองได้
การดูแลสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อช่วยในด้านการดูดซึมแคลเซียม หลีกเลี่ยงกิจกรรมและการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก หรือหักโหมเกินไป
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่ควรออกแรงหักโหมจนเกิดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อกระดูก โดยเฉพาะผู้ที่เล่นกีฬาเกี่ยวกับการยกน้ำหนักควรหมั่นตรวจสุขภาพ และดูแลความพร้อมของร่างกายอย่างเหมาะสม
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดี เช่น เต้าหู้ กุ้งฝอย ปลาตัวเล็ก และผักใบเขียวอย่างผักคะน้า ผักกระเฉด กะเพรา ตำลึง เป็นต้น และอาหารประเภทโปรตีนที่มีวิตามินดีสูง เช่น ตับ และไข่แดง เป็นต้น
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม ชา หรือกาแฟ เพราะมีความเป็นกรดสูง
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
ในแต่ละวัน ควรออกไปรับแดดตอนเช้า เพราะวิตามินดีในแสงแดด จะช่วยทำให้แคลเซียมภายในร่างกายไหลผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ดี
ตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเข้าตรวจวัดมวลกระดูก เพื่อคัดกรองโรคกระดูกพรุน
จัดพื้นที่ภายในบ้าน เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้ม เช่น การเก็บสายไฟเพื่อไม่ให้เกะกะ, ติดแสงไฟให้สว่าง, หากสายตาสั้นควรใส่แว่น เป็นต้น
หากผู้ป่วยต้องการออกกำลังกาย จะต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะว่ากระดูกมีความเปราะบางมากกว่าคนทั่วไป หากอยากออกกำลังกาย ควรจะเน้นไปที่ 3 วิธี ดังนี้
การออกกำลังกายด้วยการลงน้ำหนัก เพื่อใช้น้ำหนักของร่างกายในการกระตุ้นสร้างมวลกระดูก
การออกกำลังกายที่สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น, ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัวขึ้น
ทั้งนี้ หากจะออกกำลังกาย ทางที่ดีควรเข้าพบแพทย์ เพื่อปรึกษาแนวทางในการออกกำลังกาย เพื่อไม่ให้กระทบและเพิ่มความรุนแรงให้กับโรคที่เป็นอยู่
แคลเซียมมีประโยชน์กับโรคกระดูกพรุน สามารถนำมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ เพราะสามารถเพิ่มความหนาแน่นให้มวลกระดูกได้ ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง โดยปริมาณแคลเซียมที่คนปกติทั่วไปต้องการต่อวัน คือ 800 – 1,000 มิลลิกรัม แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุจะต้องการปริมาณแคลเซียมที่มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน แม้แคลเซียมจะจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในไต, ท้องผูก หรือเกิดภาวะแคลเซียมเกาะตามผนังหลอดเลือด ดังนั้น ก่อนรับประทานอาหารเสริมจึงต้องวางแผนเพื่อควบคุมปริมาณแคลเซียมให้เหมาะสมต่อความจำเป็นของร่างกายด้วย
นม เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพราะมีปริมาณแคลเซียมสำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกและฟันสูง โดยเฉพาะนมโคสด และนมรสจืด อีกทั้งยังมีผลต่อพัฒนาการด้านความสูง ซึ่งจะมีการซ่อมแซมมวลกระดูกในส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยการรับประทานนมให้ได้ตามประสิทธิผลนั้น จะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ดังนี้
เด็กก่อนวัยเรียน 1 ปีขึ้นไป และวัยเรียน
ควรดื่มนมรสจืด 2 แก้วต่อวัน ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ไม่ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย หรือไร้ไขมัน เพราะไขมันเป็นแหล่งสะสมพลังงาน ซึ่งมีวิตามินเอ, ดี, อี และเคที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
วัยรุ่น
แนะนำให้ดื่มนมรสจืดวันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้รับแร่ธาตุแคลเซียมเพียงพอ ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
วัยผู้ใหญ่
ควรดื่มนมทุกวัน เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และชะลอการสูญเสียมวลกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ส่วนผู้ที่มีปัญหาภาวะไขมันในเลือดสูง ควรเลือกดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือนมไร้ไขมัน
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
ควรดื่มนมรสจืดวันละ 2 แก้ว และควรบริโภคอาหารประเภทอื่นด้วย เช่น ปลาเล็ก, ผักใบเขียวเข้ม หรือเต้าหู้ เพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกทั้งแม่และทารกในครรภ์
ผู้ที่มีปัญหาถ่ายบ่อยเมื่อดื่มนม
ซึ่งเกิดจากน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงพอ จึงควรเริ่มดื่มนมครั้งละประมาณครึ่งแก้ว และเพิ่มปริมาณเป็นครั้งละหนึ่งแก้วในอีก 1-2 สัปดาห์ต่อมา
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย และจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นกระดูกแตกหัก การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรตระหนัก เพื่อลดปัญหาของการเคลื่อนไหวที่ยากต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคต
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง