“เด็ก” เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือเพื่อนต่างก็มีอิทธิพลต่อเด็กด้วยกันทั้งนั้น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กจึงมีส่วนสำคัญต่อความคิดและพฤติกรรมของเด็ก โดยการแสดงออกของเด็กส่วนใหญ่จะมีที่มาจากการ “เลียนแบบ” ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจส่งผลดี หรือผลเสียต่อเด็กในระยะยาวได้
พฤติกรรมการเลียนแบบจะสามารถอธิบายตามแนวคิดและทฤษฎีจิตวิทยาของบันดูราได้ว่า การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากนั้นเป็นการสังเกตจนเกิดการเลียนแบบเพราะมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเด็กจะเห็นพ่อ แม่ เพื่อน หรือแม้กระทั่งบุคคลจากสื่อต่าง ๆ ทำพฤติกรรมเช่นใด เด็กจะซึมซับพฤติกรรมนั้นมา เช่น เด็กผู้ชายเห็นแม่ทาลิปสติก และสวมรองเท้าส้นสูง เด็กจะเกิดการเรียนรู้และเริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบแม่ โดยการนำลิปสติกมาทาที่ปากและสวมรองเท้าส้นสูงของแม่ ทั้ง ๆ ที่พฤติกรรมดังกล่าวไม่ใช่กิจวัตรของผู้ชาย เพราะเด็กยังไร้เดียงสาจึงไม่เข้าใจพฤติกรรมของผู้ใหญ่
การแก้ไขพฤติกรรมเลียนแบบที่ส่งผลเสียกับเด็ก
การแก้ไขพฤติกรรมที่เด็กเลียนแบบจนกลายเป็นนิสัยถือว่าทำได้ยาก ด้วยการอธิบายพูดคุยถึงความไม่เหมาะสมของพฤติกรรมและชี้นำแนวทางที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังคงต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถ้าหากเด็กมีพฤติกรรมรุนแรงเกินเยียวยาได้ อาจต้องถึงขั้นพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาและรับคำแนะนำต่อไป ดังนั้นหากการแก้ปัญหาทำได้ยากการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบจึงเป็นสิ่งที่ง่ายกว่า เช่น
สิ่งสำคัญนอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ปกครองควรระมัดระวังนั่นคือ สื่อออนไลน์ที่เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา การปล่อยให้เด็กอยู่กับสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีคนคอยแนะนำจะส่งผลให้เด็กเกิดการเลียนแบบในสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้เช่นกัน
____________________________________
พูดคุยกับเรา : LINE คลิก