โดยปกติแล้ว หลายท่านน่าจะประสบพบเจอกับอาการท้องผูกกันมาบ้าง และมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่ในอนาคตอาจจะกลายเป็นท้องผูกเรื้อรังได้ จึงต้องหาทางรับมือกับอาการนี้ให้ดี
เกิดท้องผูกจากการอุดกั้นของลำไส้
ฤทธิ์ของยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้แพ้ ยากันชัก
พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป ชอบอั้นอุจจาระ หรือมีน้ำหนักตัวเยอะ
โรคไส้ตรงปลิ้น
โรคบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูด เกิดการไม่คลายตัวระหว่างการขับถ่ายอุจจาระ
เบ่งอุจจาระไม่ออก
อุจจาระเป็นก้อน และแข็งกว่าปกติ
มีการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
ขับถ่ายอุจจาระได้ไม่สุด
รู้สึกเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ และมีเลือดปนออกมา
อาจทำให้เกิดริดสีดวงทวาร และแผลรอบ ๆ ทวารหนัก
แรงดันภายในช่องท้องสูงขึ้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนขึ้นได้
ทำให้กล้ามเนื้อช่วงอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ
ท้องผูกเรื้อรัง อาจจะเป็นสัญญาณแรกเริ่มของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ส่งผลให้เกิดลำไส้อุดตัน
หากผู้ป่วยท่านใดที่เป็นท้องผูกเรื้อรัง แล้วมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน
ถ่ายอุจจาระปนเลือด
มีก้อนที่ท้อง
ปวดท้องอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย ผอมลงมาก
เกิดอาการท้องอืดอย่างรุนแรง
ในเบื้องต้น แพทย์จะมีการซักถามประวัติคนไข้ อาการต่าง ๆ และทำการตรวจร่างกายทั่วไป และอาจจะมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้
ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย เช่น กล้ามเนื้อหูรูด กล้ามเนื้อช่องท้อง กล้ามเนื้อเชิงกราน เป็นต้น
เกิดจากลำไส้ทำงานผิดปกติ
แพทย์จะหาสาเหตุว่ามีโรค หรืออาการต่าง ๆ ที่ส่งผลทำให้ลำไส้ เกิดการทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้น้อยลงหรือไม่ จากนั้นจะทำการรักษา เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์อาจจะให้ยากระตุ้น ทำให้ประสาทของลำไส้ทำงานได้เป็นปกติ
เกิดจากความผิดปกติบริเวณกล้ามเนื้อหูรูด
หากผู้ป่วยมีความผิดปกติบริเวณกล้ามเนื้อหูรูด ทวารหนักส่วนปลาย หรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อาจจะใช้วิธีการรักษา โดยการฉีดโบท็อกซ์ หรือผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหานี้
สร้างนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลา
ไม่อั้นอุจจาระ และรีบเร่ง ใช้เวลาในการขับถ่ายให้เพียงพอ
บริโภคอาหารที่มีไฟเบอร์สูงให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ขนมปังธัญพืช เป็นต้น
ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจจะทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็งได้
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานปกติ
หลายท่านที่มีนิสัยชอบอั้นอุจจาระ ขับถ่ายไม่เป็นเวลา หรือเลือกบริโภคอาหารไม่ดี ระวังจะเสี่ยงเป็นท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งอาจจะกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตได้ หากผู้ป่วยท่านใด เป็นท้องผูกมานาน หรือเริ่มมีอาการที่รุนแรง ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
รวมมิตรโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่ควรรู้