ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ (Colonic Polyps) คือลักษณะก้อนเนื้องอกขนาดเล็ก ที่ยื่นออกมาบริเวณเซลล์ผิวผนังลำไส้ใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 - 5 มิลลิเมตร ไปจนถึงหลายเซนติเมตร ซึ่งหากปล่อยไว้อาจมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งได้ในอนาคตได้
ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่มีวิจัยหรือข้อสรุปใดที่บ่งบอกได้ถึงสาเหตุของโรค มีเพียงข้อสันนิษฐานที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
บุคคลในครอบครัวมีประวัติเคยป่วยเป็นเนื้องอกหรือโรคมะเร็งอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร กลุ่มบุคคลเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดติ่งเนื้องอกที่ใหม่ได้อีก
การบริโภคอาหารไขมันสูง
รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยน้อย
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
Hyperplastic เป็นติ่งเนื้อชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง
Adenoma เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ มีโอกาสเป็นมะเร็งได้เยอะกว่าชนิดแรก แต่ไม่ได้หมายความว่าติ่งเนื้อชนิดนี้จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งเสมอไป
ผู้ที่มีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ มักจะไม่แสดงความผิดปกติออกมา นอกเสียจากว่าติ่งเนื้อนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นมาก จนโลหิตไหลออก ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจของโลหิตจางได้ หากกลายเป็นมะเร็งแล้ว จะแสดงอาการต่าง ๆ ดังนี้
ปวดท้องบีบเกร็ง หรือแน่นบริเวณท้อง
ลำไส้อุดตัน
ไม่สามารถผายลมออกได้
เป็นการตรวจดูว่าติ่งเนื้อนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ทั้งนี้หากมีขนาดเล็กสามารถนำออกมาได้
ลักษณะเป็นท่อยาว นิ่ม ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11 มิลลิเมตร ตรวจผ่านทางทวารหนัก
1 - 2 วันก่อนตรวจ ผู้เข้ารับบริการต้องรับประทานอาหารอ่อนและยาระบาย
ใช้เวลา 15 - 30 นาทีโดยประมาณ
ตรวจอุจจาระ
หากมีการปนเปื้อนของโลหิต
ส่องกล้อง Endoscopic Submucosal Dissection
หรือ ESD มีลักษณะเดียวกันกับ Colonoscopy แต่สามารถนำติ่งเนื้อขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตรขึ้นไปออกมาได้
การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
CT Colonography สามารถเห็นลำไส้ได้ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งอวัยวะในระบบทางเดินอาหารข้างเคียงบริเวณหน้าท้อง
ตรวจทางรังสี
เช่น การเอกซเรย์ที่บริเวณลำไส้ใหญ่หรือการสวนทวารด้วยสารทึบรังสี
การฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดดำ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ
การผ่าตัดเพื่อนำส่วนที่อักเสบออก
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก, แหนม, ลูกชิ้น
บริโภคอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงสุกใหม่ และมีความร้อน
เน้นรับประทานผักและผลไม้ หรือธัญพืชที่มีกากใยสูง
ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจอวัยวะทางเดินอาหาร เพื่อป้องกันติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ที่อาจซ่อนอยู่
ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ดูเหมือนจะเป็นโรคที่หลายท่านอาจจะไม่คุ้นชื่อ หรือไม่ค่อยได้ยิน แต่มีความอันตรายอย่างมาก ในระยะแรกอาจจะยังไม่ได้ส่งผลอะไร แต่หากปล่อยไว้เรื่อย ๆ กว่าจะพบอาจจะกลายเป็นมะเร็งแล้ว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นท่านควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือหากมีอาการใดที่ผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัย หากเกิดโรคร้ายใดขึ้น จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ
โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้