ปัจจุบัน เราเปลี่ยนผ่านจากยุคแอนะล็อก ก้าวมาสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว การสื่อสารก็เปลี่ยนมาเป็นดิจิตอลแทบทั้งหมด เมื่อช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีสถานการณ์โควิดที่เป็นภาคบังคับให้ทุกท่านต้องพึ่งเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น การทำงาน การเรียน การติดต่อกับบุคคลรอบตัว ผ่านโปรแกรมสื่อสาร ซึ่งหลายท่านอาจจะพบปัญหาเกี่ยวกับสายตา ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดตา ตาล้า เป็นต้น โรคนี้มีชื่อเรียกว่า คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ Computer Vision Syndrome (CVS)
เป็นกลุ่มอาการทางสายตาและการมองเห็นที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ยิ่งใช้งานนานจะยิ่งมีผลต่อระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยเกิดจากสาเหตุเหล่านี้
แสงสว่างภายในห้องหรือระยะห่างจากจอไม่เหมาะสม
แสงที่สะท้อนออกมาจากจอคอมพิวเตอร์
ท่าทางการนั่ง ระดับสายตาในการมองจอคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม
การกระพริบตาน้อยลง เนื่องจากการเพ่งหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน
ระคายเคืองตา ปวดตา ตาล้า หรือพร่ามัว
เกิดอาการตาแห้ง มักจะเป็นเพียงอาการชั่วคราว
กล้ามเนื้อตาเกิดอาการล้า
เกิดภาวะแพ้แสง เนื่องจากความสว่างของหน้าจอที่แตกต่างกัน ซึ่งการปรับความสว่างหรือมืดเกินไป ส่งผลให้ไม่สบายตา เมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จะทำให้ดวงตาเกิดอาการแพ้แสงได้
ผู้ที่ทำงานด้านกราฟิค
ผู้ที่ทำงานตัดต่อวิดิโอ
ผู้ที่ทำงานด้านการเขียน
นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องเรียนออนไลน์
พนักงานออฟฟิศ
แพทย์จะทำการสอบถามถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อทำการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคซีวีเอส อาจจะให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตา หรือตรวจสายตา เพื่อจะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย
แพทย์อาจจะใช้น้ำตาเทียมหยอดตาผู้ป่วย เพื่อลดอาการแสบตา และตาแห้ง
ตรวจวัดสายตา หากมีสายตาที่ผิดปกติ แพทย์อาจจะแนะนำแว่นกรองแสง เพื่อช่วยลดการตัดกันของแสง และทำให้มองหน้าจอแบบสบายขึ้น
ถ้าผู้ป่วยใช้คอนแทคเลนส์ ให้เว้นช่วงเพื่อหยุดพักสายตา แล้วเปลี่ยนไปใส่แว่นแทน เพราะคอนแทคเลนส์ทำให้ตาระคายเคือง และแห้งได้
แนะนำผู้ป่วยควรกระพริบตาบ่อย ๆ เพื่อคงความชุ่มชื้นของดวงตา
ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ และความสว่างของหน้าจอ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสายตา
ติดแผ่นกรองแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงที่สว่างและสะท้อน ทำให้ลดอาการตาล้าได้
ปรับแสงสว่างในห้องให้เหมาะสม
ควรพักสายตาระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์เสมอ โดยพักระยะเวลาประมาณ 15 นาที ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
ในสังคมปัจจุบัน หลายท่านมักใช้ชีวิตอยู่กับสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนมาก เพราะเหตุจำเป็นอย่างการทำงาน การเรียน หรือใช้รับชมสิ่งบันเทิงเพื่อคลายเครียด โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม เป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัว และเชื่อว่าหลายท่านน่าจะประสบพบเจอกันมาแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน หากท่านใดที่รู้สึกสายตาเริ่มมีผลต่อการใช้ชีวิต ควรเข้าพบจักษุแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษา และหาวิธีป้องกันที่เหมาะสม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง