การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในวิธีการวางแผนดูแลสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรค สำหรับผู้มีอายุ60 ปีขึ้นไป ท่านผู้สูงอายุที่มาทำการตรวจสุขภาพ ควรมีบุตร หลาน มาคอยดูแลเพื่ออำนวยความสะดวก 

 

 

ทำไมผู้สูงอายุต้องตรวจสุขภาพ

 

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเสื่อมตามธรรมชาติ โดยเฉพาะความเสื่อมจากภายในอวัยวะต่างๆ ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค เช่น ความเสื่อมทางด้านของ

สมอง มีอาการหลงลืม แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความจำเสื่อม แต่ถ้าหากผู้สูงอายุมาตรวจสุขภาพ จะได้ทราบถึงความเสื่อมของร่างกายว่าอยู่ส่วนไหน เพื่อ

แพทย์จะได้รักษา และวินิจฉัย และรักษาได้ตั้งแต่แรกเริ่ม


 

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุตรวจอะไรบ้าง

 

  • ตรวจร่างกายทั่วไป และการซักประวัติ เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การตรวจความดันโลหิต ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ และการซักประวัติผู้สูงอายุ ว่าเคยเป็นโรค และอุบัติเหตุ เพื่อแพทย์ประเมิน ความเสื่อมของร่างกายในแต่ล่ะส่วน ว่าส่วนไหนมีความเสี่ยงในการเกิดโรค

 

  • ตรวจปัสสาวะ และตรวจอุจจาระ การตรวจเลือด เพื่อหาโรคเบาหวาน ขาดสารอาหาร ขาดธาตุเหล็ก และโรคโลหิตจาง

 

  • ตรวจตา เพื่อหาโรคต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม และสายตายาว ส่งผลต่อการมองเห็นถึงขั้นพิการได้

 

  • ตรวจหู เพื่อดูว่าเกิดอาการหูหนวก หูตึง  หรือภาวะประสาทหูเสื่อม

 

  • ตรวจสุขภาพจิต เป็นการตรวจภาวะจิตใจ และโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ได้

 

  • ตรวจผิวหนัง โรคผิวหนังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง ผิวแห้ง และเชื้อราที่ผิวหนัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

  • ตรวจช่องปาก เป็นการตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับฟัน และเหงือก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ และปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร

 

  • ตรวจภายใน เช่น การตรวจหาก้อนเนื้องอก หรือการตรวจปากมดลูกเพื่อหาเซลล์มะเร็ง

 

  • ตรวจเต้านม เพื่อหาก้อนมะเร็งในเต้านม หากพบก้อนมะเร็งแล้ว ควรกลับไปตรวจอีกครั้ง เพื่อดูขนาดของก้อนมะเร็ง

 

  • ตรวจกระดูก เพื่อตรวจหาภาวะกระดูกพรุน เพื่อป้องกันก่อนเกิดการบาดเจ็บจากภาวะกระดูกพรุน

 

  • ตรวจยาประจำตัว เพื่อหาความเหมาะสมของชนิดยา และปริมาณยาที่รับประทานอยู่นั้น มีความเสี่ยง ทำให้เกิดผลข้างเคียง หรือไม่

 

  • ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ แตกต่างจากการตรวจสุขภาพอื่นๆอย่างไร

 

ร่างกายของผู้สูงอายุจะมีความเสื่อมมากกว่าคนในวัยอื่นๆ ฉะนั้นการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องตรวจอย่างละเอียด เช่นเดียวกันการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

 

 

การเตรียมตัวตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

 

  • งดน้ำ-งดอาหาร 8-10 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมียาที่รับประทานเป็นประจำ และโรคประจำตัว

 

 

วัดความดัน

 

 

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ แตกต่างจากการตรวจสุขภาพอื่นๆอย่างไร

 

ร่างกายของผู้สูงอายุจะมีความเสื่อมมากกว่าคนในวัยอื่นๆ ฉะนั้นการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องตรวจอย่างละเอียด เช่นเดียวกันการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

 

การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุนั้นไม่ใช่แค่การตรวจหาปัญหาสุขภาพ เพื่อการวางแผนสุขภาพของผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกิจกรรมในครอบครัวอย่างหนึ่ง ที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ ลดระยะห่างระหว่างอายุ สร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุ และครอบครัวได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี