วิ่งสายพานตรวจหัวใจ EST
วิ่งสายพานตรวจหัวใจ EST

การตรวจหัวใจโดยการวิ่งบนสายพาน หรือ Exercise Stress Test คือ วิธีที่สามารถทราบถึงสมรรถภาพและความผิดปกติของหัวใจ ทั้งระบบไหลเวียนโลหิต การหายใจ กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด ซึ่งในบางครั้งการตรวจประเภทอื่นอาจไม่สามารถพบได้หากผู้เข้ารับบริการอยู่เฉย ๆ หรือนอนหงายราบแน่นิ่งบนเตียง แต่ EST นี้ จะทดสอบขณะออกกำลังกาย ซึ่งไม่ใช่แค่การวิ่งเพียงอย่างเดียว การเดินบนลู่ รวมทั้งปั่นจักรยานด้วย

 

 

วิ่งสายพานตรวจหัวใจ EST กี่นาที

 

หลังจากผู้เข้ารับบริการได้ติดอุปกรณ์เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีลักษณะเป็นแผ่น เพื่อบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจแล้ว จากนั้นจะติดเครื่องวัดความดันโลหิตที่บริเวณต้นแขน และทำการเดินบนลู่วิ่งช้า ๆ แล้วค่อยเร่งความเร็วหรือชันขึ้นเรื่อย ๆ ทุก 3 นาที เมื่อแพทย์ได้ข้อมูลทั้งหมดพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว จึงทำการยุติการตรวจโดยรวมระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด 15-20 นาที  ทั้งนี้อาจหยุดกลางคันในขณะตรวจ เนื่องจากมีบางอย่างผิดปกติ ได้แก่

 

  • ผู้เข้ารับบริการไม่สามารถทำการออกกำลังกายต่อไปได้ เช่น เจ็บหน้าอก หอบ หายใจไม่ทัน วิงเวียนศีรษะ จะเป็นลม

 

  • อัตราชีพการเต้นของหัวใจสูงสุด มีค่า 85 % ซึ่งคำนวณจาก 220-อายุของผู้ตรวจ

 

  • กราฟไฟฟ้าหัวใจแสดงให้เห็นถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจเต้นผิดปกติอย่างรุนแรง

 

  • ความดันโลหิตสูง

 

 

ตรวจหัวใจ EST

 

 

ผลตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน EST

 

เป็นบวก

 

  • เส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบ

 

  • แพทย์จะนำผลการตรวจนี้ไปพิจารณาการรักษาต่อไป เช่น การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ

 

เป็นลบ

 

  • ไม่พบเส้นเลือดหัวใจตีบหรือมีการตีบเล็กน้อย

 

  • แพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง

 

ไม่ชัดเจน

 

  • จะวิธีการตรวจในรูปแบบอื่น เช่น Coronary Artery

 

 

วิ่งสายพานตรวจหัวใจ EST บอกโรคอะไรได้บ้าง

 

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

  • หลอดเลือดหัวใจตีบ

 

  • ประเมินสภาพร่างกายก่อนทำการผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

 

  • ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย

 

 

ผู้ที่ควรตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน EST

 

มีอาการผิดปกติ

 

  • ได้แก่ เจ็บหน้าอก

 

  • ใจสั่น

 

  • เหนื่อยง่าย

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด

 

  • ไม่ว่าจะเป็น วัยผู้ใหญ่อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี

 

  • ป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมันและความดันโลหิตสูง

 

  • สูบบุหรี่

 

  • ได้รับการวินิจฉัยว่าหลอดเลือดหัวใจมีปัญหา

 

  • ประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจหรืออัมพาต

 

นักกีฬา

 

  • จะประเมินขีดความสามารถการเต้นของหัวใจสูงสุดได้ประมาณขนาดไหน เพื่อวางแผนในการซักซ้อมหรือลงแข่งขัน

 

 

เจ็บหน้าอก

 

 

วิ่งสายพานตรวจหัวใจ EST ที่ไหนดี

 

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลเพชรเวชพร้อมให้บริการตรวจ EST ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย นอกจากนี้มีารอัลตราซาวด์ด้วยคลื่นความถี่สูง Echocardiogram ที่ทำให้เห็นถึงลักษณะโครงสร้างทางกายภาพและการทำงานของหัวใจ หากตรวจร่วมกับการวิ่งสายพานนี้แล้ว สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดได้ อีกทั้งยังมีการตรวจ CT Coronary Calcium Score หาปริมาณหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง CT Scan พร้อมทั้งทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจโดยเฉพาะ

 

 

ก่อนวิ่งสายพานตรวจหัวใจ EST ผู้เข้ารับบริการควรงดอาหาร เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ 3-4 ชั่วโมง หรือพักการออกกำลังกาย เล่นกีฬาอย่างหักโหม 12 ชม. แต่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า ไม่รัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวกสบาย รวมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบหากใช้ยาชนิดไหนอยู่ สำหรับท่านใดที่สนใจการตรวจหัวใจหรือตรวจสุขภาพต่าง ๆ สามารถติดต่อได้สอบถามที่ Line : @petcharavej

เพิ่มเพื่อน

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจ Echo หัวใจดีไหม 

 

 

ตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจคืออะไร