พลุ ดอกไม้ไฟ อันตรายจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
พลุ ดอกไม้ไฟ อันตรายจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

พลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ คือ วัสดุที่ถูกเผาไหม้แล้วจะเกิดแสง สี เสียง ใช้ในการเฉลิมฉลองตามเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งเรามักจะทราบข่าวอุบัติเหตุจากวัตถุเหล่านี้อยู่เป็นประจำ แต่เมื่อไม่นานที่ผ่านมาโกดังที่ใช้เก็บดอกไม้เพลิงได้ระเบิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินบ้านเรือนเสียหาย จากเรื่องดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงและน่าสงสัยอย่างยิ่งว่า เพราะเหตุใดถึงส่งผลร้ายแรงให้เกิดกลายเป็นโศกนาฏกรรมนี้ขึ้นมา หากทราบแล้วควรนำมาศึกษาและปรับปรุงแก้ไข เพื่อไม่ให้ปรากฏขึ้นอีก

 

 

ดอกไม้เพลิงมีกี่ชนิด

 

แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

 

ทั่วไป

 

  • มีขนาดเล็ก ใช้ส่วนผสมของวัสดุไม่เกิน 50 มิลลิกรัม เมื่อถูกไฟจะเกิดแสงสีสวยงาม มีเสียงหวีด ควัน ตัวอย่างเช่น ประทัด ไฟเย็น กระเทียม

 

พิเศษ

 

  • มีขนาดใหญ่ ใช้ส่วนผสมมากกว่า 130 มิลลิกรัม เกิดแสง และเสียงจากการเผาไหม้อย่างรุนแรง มักจะใช้ในการแสดงบนพื้นที่โล่งแจ้ง กว้างขวาง ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญได้รับการฝึกอบรมมามาแล้ว

 

 

จุดพลุ

 

 

สารเคมีในพลุ

 

ให้ออกซิเจนเพิ่มเติม

 

  • โดยเฉพาะจากโพแทสเซียม เช่น ไนเตรต คลอเรต เปอร์คอเรต

 

เชื้อเพลิง

 

ช่วยในการเผาไหม้ ได้แก่

 

  • กำมะถัน

 

  • ถ่าน

 

  • แป้ง

 

  • สังกะสี

 

  • ผงคาร์บอเนตหรืออะลูมิเนียม

 

  • แมกนีเซียม

 

ดินดำ

 

  • ส่วนผสมของผงถ่ายหรือซัลเฟอร์ ทำให้ไฟลุกติดง่าย ไวต่อการกระแทก เสียดสี ช่วยในการจุดติดง่าย

 

สี

 

พลุเมื่อจุดไปแล้วจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ จากสารแต่ละชนิด ดังนี้

 

แดง

 

  • สตรอนเชียมคาร์บอเนต

 

  • ลิเทียมคาร์บอเนต

 

เหลือง

 

  • แคลเซียมคาร์บอเนต  

 

  • โซเดียมออกซาเลต

 

ฟ้า

 

  • คอปเปอร์ซัลเฟต

 

เขียว

 

  • แบเรียมคลอเรต

 

ส้ม

 

  • แคลเซียมคลอไรด์

 

นอกจากนี้ยังมีแป้งและน้ำตาล ที่ทำให้ส่วนผสมทุกอย่างเกาะตัวกันได้ดี

 

 

สีของพลุ

 

 

อันตรายจากพลุ ดอกไม้ไฟ

 

  • ระคายเคืองตามร่างกาย

 

  • ผิวหนังพุพอง

 

  • กระจกตาไหม้หรือหลุดลอก ถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

 

  • ความดังของมันส่งผลให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด การได้ยินเสียงผิดปกติ

 

  • แรงระเบิดอาจทำให้ทุพพลภาพ

 

  • หากถูกที่ศีรษะหรือบริเวณสำคัญของร่างกายอาจเสียชีวิตได้

 

 

ไฟเย็น

 

 

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากพลุ ดอกไม้ไฟ

 

แผลไฟไหม้

 

  • ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ จนกว่าอาการปวด แสบ ร้อนจะบรรเทาลง

 

  • ถอดเสื้อผ้าออกจากบริเวณที่ถูกเปลวไฟออก หรือตัดเป็นชิ้น ๆ หากติดกับแผลไม่ควรถอดออก ใช้ผ้าสะอาดคลุมแทน

 

  • หลีกเลี่ยงการนำผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือยาสำหรับทาทุกชนิด มาใช้กับแผล เพราะอาจเกิดการระคายเคือง ติดเชื้อ รักษาได้ยากมากยิ่งขึ้น

 

  • ถ้าผู้ประสบเหตุมีอาการหนาวสั่น ให้ใช้ผ้าสะอาดห่อหุ้มร่างกายเพิ่มความอบอุ่น

 

อวัยวะฉีกขาด

 

  • กดและยกบาดแผลขึ้นเพื่อห้ามเลือด

 

  • ใช้ผ้าสะอาดพันรอบแผล กดให้แน่น สามารถชะลอการไหลเวียนของโลหิตได้

 

  • นำอวัยวะส่วนที่ขาดออกจากร่างกายใส่ถุงพลาสติกแห้ง สะอาด

 

  • รีบนำตัวผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

 

 

ประทัดยักษ์

 

 

การป้องกันผลกระทบจากพลุ ดอกไม้ไฟ

 

  • อ่านฉลากและตรวจสอบดอกไม้เพลิงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ก่อนใช้ง่าย

 

  • เก็บให้ห่างจากประกายไฟ

 

  • จุดเล่นในสถานที่โล่ง ห่างไกลสถานที่อาศัยของผู้คน

 

  • เด็กเล็กไม่ควรเล่นโดยพลการ

 

  • ใส่อุปกรณ์ป้องกันที่ดวงตา และที่อุดหู

 

  • ห้ามโยนใส่กัน เมื่อจุดแล้วจะต้องทิ้งระยะห่างจากตนเอง 1 เมตร

 

 

นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่นที่ได้รับผลกระทบไปด้วยไม่ใช่แค่ร่างกายเพียงเท่านั้น ทั้งสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดมลพิษ PM 2.5 อันตรายมากกว่าควันบุหรี่ ทำลายชั้นบรรยากาศ หรืออัคคีภัย ลุกลามเป็นวงกว้าง ทำให้ผู้คนที่ไม่รู้เรื่องราวต้องได้รับความเดือดร้อน อีกทั้งเสียงที่ดังลั่น อาจก่อความรำคาญใจให้แก่ผู้ที่ได้ยิน ซึ่งผิดกฎหมาย มีโทษทั้งปรับและจำคุก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง