ท้องอืด
ท้องอืด ภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

 

ท้องอืด หรือ Flatulence เป็นภาวะ หรืออาการที่พบได้บ่อย สามารถเกิดได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ โดยอาจจะทำให้รู้สึกแน่นท้อง เสียดท้อง จุกท้อง เรอ และผายลม หลังจากรับประทานอาหารได้

 

 

ท้องอืด มีสาเหตุมาจาก

 

 

  • โรคลำไส้แปรปรวน

 

 

 

 

 

 

  • การรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีแก๊ส

 

 

  • การกลืนอากาศเข้าไปในปริมาณมาก 

 

 

  • การย่อยคาร์โบไฮเดรตบางชนิดไม่ได้

 

 

ท้องอืด อาการเป็นอย่างไร 

 

 

  • มีเสียงโครกคราก แน่น และรู้สึกไม่สบายท้อง 

 

 

  • เรอ และผายลมบ่อย

 

 

  • ระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ อาจจะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก และปวดท้อง ร่วมด้วย

 

 

  • อาจมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ผิดปกติ

 

 

อาการแทรกซ้อนของท้องอืดที่ควรไปพบแพทย์

 

 

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง 

 

 

  • อาเจียนบ่อย และมีเลือดปนออกมา

 

 

 

 

  • น้ำหนักลดผิดปกติ

 

 

  • มีอาการถ่ายเหลวแบบเรื้อรัง และมีเลือด

 

 

การวินิจฉัยท้องอืด

 

 

แพทย์จะซักถามเบื้องต้นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดท้องอืด เช่น อาหารที่รับประทาน ยาที่ใช้ และปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยฟังเสียงการทำงานของระบบย่อยอาหาร แล้วตรวจดูอาการบวมบริเวณท้อง และใช้มือกดเพื่อทดสอบความเจ็บปวด และความแข็งของท้อง

 

 

ท้องอืด มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง 

 

 

การรักษาด้วยยา 

 

 

  • ไซเมทิโคน มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด แน่นท้อง 

 

 

  • ดอมเพอริโดน ช่วยในการบีบตัวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ ทำให้แก๊สเคลื่อนตัวผ่านระบบย่อยได้เร็วขึ้น 

 

 

ถ้าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา ไม่สามารถบรรเทาอาการท้องอืดได้ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ 

 

 

การป้องกันท้องอืด 

 

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่ควรรับประทานเยอะ หรือเร็วจนเกินไป

 

 

 

 

  • งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหาร

 

 

  • หลีกเลี่ยง หรือลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มอัดแก๊ส เช่น โซดา น้ำอัดลม 

 

 

  • ออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นระบบย่อยอาหาร และการขับถ่าย ควรขยับร่างกาย ด้วยการเดินเบา ๆ 

 

 

ท้องอืดเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปอาจจะมีอาการที่ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่ถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อน อาการก็อาจจะรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

 

อาการปวดท้องแต่ละแบบบ่งบอกอะไรบ้าง

 

 

“กินเยอะกินน้อย” สัญญาณของปัญหาสุขภาพ