กรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน โรคยอดฮิตสุดอันตรายที่อาจเป็นเรื้อรังได้

 

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) คือ การที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นกรดหรือแก๊ส ไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร จนหลอดอาหารเกิดการอักเสบ ส่งผลให้รู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ หลังรับประทานอาหาร

 

 

สาเหตุของกรดไหลย้อน

 

  • การบีบตัวของกระเพาะอาหารผิดปกติ ส่งผลให้มีอาหารติดค้างในกระเพาะนานกว่าปกติ โดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีไขมันสูง จะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง

 

  • การบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ ส่งผลให้อาหารที่รับประทานเข้าสู่กระเพาะช้า อาหารจึงค้างอยู่ที่หลอดอาหาร

 

  • หูรูดส่วนปลายหลอดอาหารผิดปกติ ส่งผลให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้ผนังของหลอดอาหารเกิดความระคายเคือง

 

 

อาการของกรดไหลย้อน

      

  • แสบร้อนกลางอกบริเวณลิ้นปี่ หลังจากรับประทานอาหาร

 

  • เรอเปรี้ยว ขมปาก หรือขมคอ

 

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร

 

  • ไอ คอแห้ง เสียงแหบ

 

 

มีก้อนในลำคอ

 

 

  • รู้สึกมีก้อนในลำคอ

 

  • หายใจหอบหืด

 

  • รู้สึกระคายคอหรือมีเสมหะอยู่ในคอตลอดเวลา

 

  • มีน้ำลายมาก เกิดกลิ่นปาก รู้สึกเสียวฟันหรือมีฟันผุ

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน

 

หลอดอาหารตีบ 

 

ผู้ป่วยบางรายที่เป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง แผลเป็นที่เกิดจากการอักเสบ อาจทำให้หลอดอาหารตีบแคบลง และรบกวนการลำเลียงอาหารไปยังกระเพาะ

 

 

หลอดอาหารอักเสบ 

 

การอักเสบหรือระคายเคืองของเยื่อบุหลอดอาหาร ที่เกิดจากการกัดของกรดไหลย้อน หากปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาว อาจเสี่ยงทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงจนอาจเป็นแผลเลือดออกได้ 

 

 

เยื่อบุหลอดอาหารเปลี่ยนสภาพ

 

เกิดจากเซลล์เยื่อบุอาหารมีการเปลี่ยนสภาพเพื่อรองรับการกัดของกรดไหลย้อน มีโอกาสเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน เซลล์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอาจผิดปกติ และอาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ 

 

 

มะเร็งหลอดอาหาร

 

มีอยู่ 2 ชนิด คือ มะเร็งชนิดต่อมที่บริเวณหลอดอาหารส่วนล่างกับมะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ที่บริเวณหลอดอาหารส่วนกลางและบน 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของกรดไหลย้อน

 

 

รับประทานอาหารจัดรส

 

 

  • มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสจัดมากเกินไป แล้วมีการนอนทันที

 

  • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่

 

  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาในกลุ่มโรคหอบหืด เป็นต้น

 

 

การวินิจฉัยกรดไหลย้อน

 

  • ซักถามประวัติ อาการ และตรวจร่างกายทั่วไป 

 

  • ตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร 

 

  • การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง

 

 

  • ตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร

 

 

การรักษากรดไหลย้อน

 

 

ปรับพฤติกรรมการรับประทาน

 

 

  • เบื้องต้นผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต

 

  • การรับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide) และอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminum Hydroxide) ซึ่งมีความเป็นด่าง สามารถลดกรดในกระเพาะอาหาร หรือไซเมธิโคน (Simethicone) ที่ช่วยขับลม ลดการจุกเสียด แน่นท้อง                              

 

  • ยาลดกรดไหลย้อนมีหลายแบบ เช่น ยาลดกรดแบบน้ำ ผู้ป่วยควรเขย่าก่อนรับประทาน หรือยาเม็ด ให้รับประทานหลังมื้ออาหาร เป็นต้น

 

  • การส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อตรวจกระเพาะอาหาร ทำให้เห็นแผลในหลอดอาหารส่วนปลาย และการอักเสบจากโรคกรดไหลย้อน

 

  • การผ่าตัด

 

 

การป้องกันกรดไหลย้อน

 

  • เบื้องต้นเวลานอน ให้จัดท่าทางโดยการยกศีรษะสูงขึ้น 15 ซม.

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด และการสูบบุหรี่

 

  • ไม่ควรนอนหลังรับประทานอาหารทันที ควรให้อาหารย่อยอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อน แล้วจึงค่อยเข้านอน

 

  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป และรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้พออิ่ม

 

 

ควบคุมน้ำหนัก

 

 

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

 

กรดไหลย้อน หากรักษาไม่ถูกวิธีอาจนำไปสู่การเกิดหลอดอาหารอักเสบ แผลที่หลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ ดังนั้น หากมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว ขมคอ ควรมาทำการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนเรื้อรังในอนาคต



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

รับประทานอาหารอิ่มเร็ว สัญญาณความผิดปกติจากระบบย่อยอาหาร

 

รับประทานอิ่มแล้วนอน สบายตอนนี้ปัญหาสุขภาพมาเยือนในอนาคต

 

เครียดลงกระเพาะ ภาวะที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร