ริดสีดวงแตก
ริดสีดวงแตกเลือดออกควรทำอย่างไร

ริดสีดวงแตกเป็นอาการของเส้นเลือดบริเวณริดสีดวงโป่งพองแตกออกจากอุจจาระแข็ง หรือการนั่งอุจจาระนาน ทำให้เกิดอาการเลือดไหลไม่หยุด สามารถปฐมพยาบาลเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหลได้ สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดทั้งแบบแบบปกติ และแบบ Stapled Hemorrhoidectomy หากไม่ต้องการเสี่ยงริดสีดวงแตกควรปรับพฤติกรรมการขับถ่ายและการทานอาหารให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

 

ริดสีดวงแตก เลือดออก

 

หนึ่งในอาการที่สำคัญของริดสีดวงแตกคือเลือดไหล เนื่องจากการแตกตัวของเส้นเลือดบริเวณริดสีดวงจากการเบ่งอุจจาระแรงและนาน หรืออาจเกิดจากอุจจาระที่มีลักษณะแข็งเกิดการเสียดสีกับเส้นเลือดเมื่อเส้นเลือดแตกจะทำให้มีเลือดไหลออกมาไม่หยุดในปริมาณมาก

 

อาการของริดสีดวงแตก

 

  • มีเลือดไหลปริมาณมากไม่หยุด
  • เจ็บแสบบริเวณริดสีดวงแตก
  • คลำเจอก้อนแข็งบริเวณทวารหนัก

นอกจากนี้หากพบว่ามีอาการอื่น เช่น หน้ามืด ใจสั่น เท้าชา ควรรีบพบแพทย์ทันทีเนื่องจากอาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหมดสติได้

 

ริดสีดวงแตก เลือดออก

 

ริดสีดวงแตกควรทำอย่างไร

 

หากพบว่ามีอาการของริดสีดวงแตกสามารถทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยการหาผ้าสะอาดมากดหรือรองบริเวณแผล หรือใส่ผ้าอนามัยเพื่อช่วยหยุดเลือด หรือทำการประคบเย็นบริเวณแผลนอกจากนี้ยังสามารถแช่น้ำเย็นที่ก้นซึ่งสามารถช่วยให้เลือดหยุดไหลได้ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไป โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฐมพยาบาลต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยด้วย

 

การรักษาริดสีดวงแตก

 

หากไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้ออื่น ๆ ตามมา หนึ่งในวิธีที่สามารถรักษาริดสีดวงแตกได้คือการผ่าตัดริดสีดวงแบบ Stapled Hemorrhoidectomy ซึ่งเป็นเครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ ลดโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำส่งผลให้มีโอกาสเกิดริดสีดวงแตกน้อยลงด้วย โดยการผ่าตัดจะใช้เวลาในการพักฟื้นน้อย และเจ็บน้อยกว่ามาก

 

บีบริดสีดวงให้แตกไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ

 

ผู้ป่วยริดสีดวงทวารหลายคนอาจมีความเชื่อผิด ๆ ว่าการบีบริดสีดวงให้แตกจะทำให้อาการเจ็บปวดบรรเทาลงไปได้บ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก เนื่องจากการบีบให้ริดสีดวงแตกนั้นจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด และทำให้เกิดแผลที่บริเวณริดสีดวงเปิดกว้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือดจากแบคทีเรีย เป็นต้น

 

การป้องกันริดสีดวงแตก

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขณะขับถ่าย ไม่ควรเบ่งอุจจาระแรง และไม่นั่งอุจจาระนานจนเกินไป เมื่ออุจจาระเสร็จให้ใช้กระดาษชำระแบบเปียกหรือแบบนุ่มเพื่อลดการเสียดสี
  • ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เพื่อให้การขับถ่ายดีขึ้นควรทานอาหารที่มีกากใยอาหารพบได้ทั่วไปในผลไม้ และดื่มน้ำเปล่าวันละ 8-10 แก้ว เพื่อลดการแข็งตัวของอุจจาระ

การเป็นริดสีดวงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการแตก และต้องเข้ารับการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้วต้องดูแลและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้กลับมาเป็นริดสีดวงได้อีกครั้ง