มลพิษภายในอาคาร
มลพิษภายในอาคาร ที่อาจกระทบต่อสุขภาพ

มลพิษภายในอาคาร (Indoor Air Pollution) คือ ภาวะที่อากาศภายในอาคารมีสิ่งเจือปนอยู่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น ทั้งสถานที่ทำงาน โรงพยาบาล ที่อยู่อาศัย ล้วนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ส่งผลให้เจ็บป่วยต่อโรคร้าย โดยเฉพาะสังคมในเมืองหลวงหรือจังหวัดเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ที่มักจะประสบปัญหาอากาศไม่บริสุทธิ์ มีการปนเปื้อนของมลภาวะ ยิ่งต้องปรับตัวอาคารเพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมเป็นพิษนี้

 

 

สาเหตุมลพิษภายในอาคาร

 

สถานที่ตั้งตัวอาคาร

 

  • อาจจะอยู่ใกล้กับถนนที่มีฝุ่น ควัน จากท่อไอเสียของยานพาหนะ ใกล้เคียงติดกับโรงงานอุตสาหกรรม

 

  • รูปแบบการก่อสร้างที่ไม่ดีทำการระบายอากาศไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเปิดรับเชื้อโรคเข้าสู่ภายในอีกด้วย

 

  • วัสดุชำรุดเสียหาย ไม่เหมาะสมกับการทำงานหรืออยู่อาศัย

 

  • กิจกรรมของบุคลากรที่เกิดขึ้นในตัวอาคาร เช่น การทาสีปรับปรุงภูมิทัศน์ ที่ต้องมีกลิ่นสี ฝุ่น หรือการทำความสะอาดโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมี ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งปลดปล่อยของสารพิษได้

 

สารปนเปื้อน

 

  • แบคทีเรียที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศแล้วเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์

 

 

ลิฟต์เสีย

 

 

สารพิษในอาคาร

 

ทางชีวภาพ

 

  • แบคทีเรีย

 

  • ไวรัส

 

  • เชื้อรา

 

  • ไรฝุ่น

 

  • สะเก็ดผิวหนังของสัตว์

 

  • ละอองเกสร

 

เคมี

 

  • แก๊ส เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์

 

  • ควันจากการเผาไหม้

 

  • สารที่มาจากวัสดุเฟอร์นิเจอร์ สีทาผนัง น้ำยาทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์จำพวกแมลง

 

อนุภาค

 

  • เป็นได้ทั้งของแข็งหรือของเหลวที่ไม่มีชีวิต ซึ่งถูกดึงเข้าสู่อาคารจากภายนอกทำทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ภายในนั้น ทั้งการก่อสร้าง อุปกรณ์การใช้งานของสำนักงาน

 

 

แหล่งสะสมเชื้อโรคในตึก

 

 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษภายในอาคาร

 

ทั่วไปแล้วจะมีอาการผิดปกติ เช่น

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

  • ผื่น คัน ตามผิวหนังบนร่างกาย

 

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

  • ไม่มีสมาธิ

 

  • อ่อนล้า ไร้เรี่ยวแรง

 

  • หายใจลำบาก

 

  • ไอ จาม

 

  • แน่นจมูก

 

อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่ออยู่ภายนอกนอกอาคาร หากปล่อยปละละเลยเสี่ยงต่อโรคในระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • หอบหืด

 

  • ปอดอักเสบ

 

  • มะเร็ง

 

  • หัวใจล้มเหลว

 

  • Building Related Illness

 

  • Sick Building Syndrome

 

 

ไอ หอบ

 

 

ป้องกันมลพิษภายในอาคาร

 

  • จัดการภายในตัวอาคารให้มีความเรียบร้อย ระบายอากาศถ่ายเทสะดวก

 

  • ทำความสะอาดเพื่อกำจัดฝุ่น และสารพิษอื่น ๆ

 

  • ไม่สูบบุหรี่ในอาคาร

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้พรม เพราะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

 

  • ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย เช่น ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หรือเครื่องฟอกอากาศ

 

  • มีการตรวจสอบคุณภาพตัวอาคารอย่างสม่ำเสมอ

 

 

เป็นที่ทราบกันดีว่าคุณภาพของตัวอาคารย่อมส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนที่อยู่ในนั้นด้วย จำเป็นต้องตรวจสอบมาตรฐานจากตัวอาคารและสภาพอากาศ รวมทั้งด้านความสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ไม่ใช้แค่ในสังคมเมืองเท่านั้น ในชนบทที่บ้านเรือนติดกับแม่น้ำ นาข้าว ไร่สวนผลไม้ ก็สามารถรับพิษจากยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีผ่านทางอากาศได้เช่นกัน

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : marketing@petcharavej.com หรือสอบถามช่องทาง Line @petcharavej

เพิ่มเพื่อน