โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งจากพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม, ความเครียด หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น อาการของโรคแม้จะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการนอนใหม่ ในบางรายอาจต้องใช้การทานยาร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของโรค
โรคนี้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนี้
ปัจจัยด้านร่างกาย
อาการป่วยที่มีส่วนทำให้เกิดโรค เช่น
โรคขาอยู่ไม่สุข
โรคกรดไหลย้อน
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
โรคขากระตุกขณะหลับ
วัยหมดประจำเดือน
ปัจจัยด้านจิตใจ
สภาวะความเครียดทำให้เกิดความกังวล, หมดกำลังใจ, เจอแรงกดดันในชีวิตประจำวัน, ยึดติดกับอะไรบางอย่างมากเกินไป เป็นต้น อาการเหล่านี้มีผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หรืออาจเกิดจากโรคที่มีผลโดยตรงกับความรู้สึก เช่น โรคไบโพลาร์ หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
อุณหภูมิในห้องนอนไม่คงที่
มีแสงสว่างรบกวนขณะนอน
เสียงจากการจราจรภายนอก
การนอนต่างพื้นที่
ปัจจัยด้านอื่น
ผลข้างเคียงจากใช้ยาบางชนิด
การออกกำลังกายมากเกินไป
การดื่มหรือทานอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
การใช้สารนิโคติน และดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องมีการเปลี่ยนเวลาในการนอนหลับอยู่เสมอ เช่น พยาบาล, รปภ. หรือพนักงานโรงงาน เป็นต้น
ไม่รู้สึกง่วง พลิกตัวไปมาตลอดทั้งคืน ทำให้ใช้เวลานานกว่าจะหลับ
หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
เมื่อหลับยากจะส่งผลให้นอนดึกแล้วตื่นสาย ทำให้เวลาในการนอนผิดเพี้ยนไปจากปกติ
หากตื่นแล้ว จะไม่สามารถหลับต่อได้อีก
อ่อนแรง, เพลีย, รู้สึกไม่สดชื่น
ง่วงตอนกลางวัน แต่ตอนกลางคืนจะไม่รู้สึกง่วง
ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้
Initial insomnia หลับยากเมื่อต้องการนอน (ปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 20 นาทีในการหลับ)
Terminal insomnia ตื่นเร็วเกินกว่าปกติ อาการรูปแบบนี้มักพบเจอในผู้ป่วยที่มีอาการเป็นโรคซึมเศร้า
Maintinance insomnia หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน อาจตื่นทุก 2-3 ชั่วโมง หรือหลับแล้วตื่นขึ้นเองกลางดึก และหลับต่อได้ยาก รวมไปถึงการตื่นมาทำกิจกรรมอื่นด้วย เช่น การเข้าห้องน้ำแล้วนอนไม่หลับ
Chronic insomnia ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน
Adjustment insomnia เป็นอาการนอนไม่หลับเฉียบพลันจากความเครียด, ความกังวล หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ จะกลับมานอนหลับได้ปกติอีกครั้ง
หากพบว่าตนเองมีอาการในกลุ่ม Chronic insomnia ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา เพราะอาการของโรคนี้ สามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคสมองเสื่อม
หากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยได้ง่าย
ผิวหนังหย่อนคล้อย แก่ก่อนวัย
อาจทำให้เกิดโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
แพทย์จะซักถามประวัติการนอนในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อหาสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดโรคนอนไม่หลับขึ้น เช่น อาการนอนกรน, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, เกิดจากปัจจัยด้านร่างกาย, จิตใจ หรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น โดยแพทย์จะดำเนินการหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยตามสาเหตุที่เกิดขึ้น
การรักษาโรคนี้จะต้องผ่านการวินิจฉัยสาเหตุของโรคจากแพทย์เสียก่อน หากเกิดจากพฤติกรรมการนอนที่ผิด แพทย์จะให้คำแนะนำ หรือการรักษาด้วยยาหากมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ
การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม
ต้องนอนให้ตรงเวลาในอุณหภูมิห้องที่พอดี ห้ามเปิดไฟนอน
ไม่ดื่มชา, กาแฟหรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน
ห้ามทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความตื่นเต้น เช่น การดูภาพยนตร์ หรือการฟังเพลง แต่ให้ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายแทน เช่น การฟังเพลง, อ่านหนังสือ เป็นต้น
การรักษาด้วยยา
หากตรวจพบว่าสาเหตุของโรคนอนไม่หลับมาจากอาการ หรือได้รับผลมาจากโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพลาร์ แพทย์จะให้ทานยาร่วมด้วย เช่น ยาต้านเศร้า เป็นต้น
ระยะเวลา 2 ชั่วโมงก่อนจะเข้านอน ควรงดใช้อุปกรณ์ที่ส่งแสงสว่าง เช่น คอมพิวเตอร์, มือถือ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น
ควรรับประทานอาหารเล็กน้อย เพื่อป้องกันการหิวตอนกลางคืน ไม่ควรปล่อยให้หิว เช่น การดื่มนมอุ่นก่อนเข้านอน และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ย่อยยากหรือปริมาณมาก
ให้ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น ฟังเพลง, อ่านหนังสือ, สวดมนต์, การนวดผ่อนคลาย เป็นต้น
จัดเตรียมสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไป
ฝึกอุปนิสัยการนอนและตื่นให้เป็นเวลาทุกวัน
หากเกิดอาการ Jet Lag หรือการเดินทางเปลี่ยนสถานที่, ไปต่างประเทศ ให้รับประทานยาเมลาโทนิน เพราะจะช่วยให้หลับดีขึ้น
นอกจากนี้หากมีอาการนอนไม่หลับไม่ควรหยิบนาฬิกาขึ้นมาดูเนื่องจากจะเป็นการสร้างความกังวลว่าตนเองหลับยาก และรู้สึกเสียเวลาในการนอนพักผ่อน
โรคนอนไม่หลับ เป็นอีกหนึ่งโรคเกี่ยวกับการนอนที่อาจจะไม่ได้มีอันตรายมากขนาดนั้น แต่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากมีการอดนอนบ่อย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคนอนไม่หลับขึ้นกับร่างกายได้ สำหรับผู้ที่รักษาอยู่ให้ทำตามคำแนะนำของแพทย์ และปรับพฤติกรรมการนอนให้ถูกต้องก็จะสามารถหายจากโรคนี้ได้ หากใครเข้าข่ายโรคนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และดำเนินการรักษาต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รู้จักโรคหายากโรคนอนไม่หลับมรณะ (FFI)
ไลฟ์สไตล์กับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง