“กินเค็มระวังเป็นโรคไต” ประโยคยอดฮิตของใครหลายคนที่มักใช้เตือนผู้คนรอบตัวที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม แต่โรคไตไม่ได้เข้าโจมตีแต่ผู้ที่ทานรสเค็มเพียงอย่างเดียว เพราะโรคนี้สามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง ซึ่งส่งผลให้เราเป็นโรคร้ายนี้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไตทำหน้าที่กำจัดของเสีย, ควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือด, ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ และควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย ดังนั้น เมื่อไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางและขาดวิตามินได้ โดยโรคไตมีอยู่หลายชนิดดังตัวอย่าง ได้แก่
โรคนิ่วในไต
โรคไตเฉียบพลัน
โรคไตเสื่อม
โรคเส้นเลือดฝอยที่ไตอักเสบ
โรคถุงน้ำในไต
โรคนี้อาจมีความเข้าใจผิด ๆ ว่าเลี่ยงทานเค็มเท่ากับเลี่ยงโรคไต ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วยังมีสาเหตุต่าง ๆ อีกมากมาย โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้ ได้แก่
พันธุกรรม โดยอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อย ๆ แสดงอาการในภายหลัง
เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคนิ่ว เป็นต้น
การทานอาหารรสจัด รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน
ภูมิต้านทานบกพร่อง
ดื่มน้ำน้อยเกินไป
มีความเครียด, ไม่ออกกำลังกาย
การรับประทานยา และอาหารเสริมที่ไม่มีคุณภาพ อาจส่งผลให้เกิดการกระตุ้นโรคไตในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสมบูรณ์ได้ การเกิดความผิดปกติกับไตจึงเป็นเรื่องอันตราย โดยในช่วงแรกผู้ป่วยโรคไตอาจแทบไม่มีสัญญาณของโรคร้ายนี้เลย แต่อาการจะปรากฏออกมาในระยะท้าย ๆ ที่ไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว จนในระดับสูงสุดอาจเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคไตที่ปรากฏ มีดังนี้
ปัสสาวะผิดปกติ เช่น กลิ่นและสีผิดปกติ, เป็นฟอง, ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะน้อย, มีเลือดปน เป็นต้น
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
มีอาการเบื่ออาหาร หรือมีอาการขมปากและขมคอจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้
ตัวบวมเนื่องจากมีน้ำและเกลือในร่างกายปริมาณมาก
ปวดหลัง ปวดบั้นเอว
คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคไต
มีอายุมากกว่า 60 ปี
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน, ความดัน, โรคเกาต์, โรคนิ่ว, โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง เป็นต้น
ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย
ผู้ที่ซื้อยามารับประทานเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารสำเร็จรูปและอาหารที่มีโซเดียมสูง
ระยะแรก ค่าการคัดกรองของไต (eGFR) มากกว่า 90 ส่งผลให้ไตอาจเริ่มเกิดการเสื่อมขึ้น
ระยะที่ 2 ค่าการคัดกรองของไต (eGFR) น้อย โดยจะอยู่ที่ระดับประมาณ 60-90
ระยะที่ 3 ค่าการคัดกรองของไต (eGFR) น้อยกว่า 60 ไตเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ, การกรองของเสียลดลง หากผู้ป่วยอยู่ในระยะนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
ระยะที่ 4 ค่าการคัดกรองของไต (eGFR) น้อยกว่า 30 ควรเริ่มวางแผนการบำบัดไต และควรติดตามผลเลือดและปัสสาวะทุก 3 หรือ 6 เดือน
ระยะสุดท้าย ค่าการคัดกรองของไต (eGFR) น้อยกว่า 15 ผู้ป่วยจะเกิดภาวะไตวาย ส่งผลให้ไตไม่สามารถทำงานได้
การตรวจเลือด เพื่อดูสารครีเอตินินที่เป็นของเสียภายในเลือด, ตรวจอัตราการกรองของเสียออกจากไต, ตรวจหาแคลเซียมและยูริก เป็นต้น
การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูระดับของสารอัลบูมินกับครีเอตินิน, เม็ดเลือดแดงและขาว หรือเชื้อแบคทีเรียที่ปนอยู่ในปัสสาวะ
การตรวจชิ้นเนื้อ แพทย์อาจนำตัวอย่างเซลล์เนื้อเยื่อของไต ไปตรวจเช็กโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
การตรวจจากภาพถ่าย เพื่อดูลักษณะการอุดตันและการทำงานของไต ด้วยวิธีการอัลตราซาวด์, CT Scan และ MRI Scan เป็นต้น
รักษาตามอาการและปรับพฤติกรรม เช่น การรับประทานยา และควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม, ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงยาบางประเภท เป็นต้น
รักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต ใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อช่วยขจัดของเสียทดแทนไตที่เสียไป สามารถทำได้ 3 วิธี เช่น การฟอกเลือด เพื่อทำให้เลือดสะอาดโดยใช้ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง จำนวน 2-3 ครั้ง/สัปดาห์, การฟอกไตผ่านทางช่องท้อง โดยจะฟอกวันละ 4 รอบ หรือการปลูกถ่ายไต โดยการนำไตจากผู้บริจาคใส่เชิงกรานของผู้รับไต
การรักษาด้วยยา โดยวิธีนี้ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งยาที่ผู้ป่วยต้องรับประทาน เช่น ยารักษาภาวะโลหิตจาง, ยาลดน้ำตาลในเลือด หรือยาลดความดันโลหิตสูง เป็นต้น
การฟอกไตทางหลอดเลือด เป็นการนำเลือดออกจากร่างกาย แล้วนำไปฟอกด้วยเครื่องฟอกไต จากนั้นแพทย์จะนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย วิธีนี้จะใช้ในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้าย และจำเป็นต้องได้รับการฟอกไต 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
การปลูกถ่ายไต จะเป็นการบำบัดทดแทนไตแบบถาวร โดยการใช้ไตจากผู้เข้าบริจาค การปลูกถ่ายไตจะเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยควรดื่มอย่างน้อย 6-8 แก้ว/วัน เป็นจำนวน 1.5-2 ลิตร
พักผ่อนให้เพียงพอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รสเค็มและจัด, อาหารกระป๋อง หรืออาหารแปรรูป
หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะบ่อย
หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดและยาที่อาจมีผลต่อไต เช่น ยาในกลุ่ม NSAIDs เป็นต้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
โซเดียม คือเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก อาจจะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไต เพราะปริมาณโซเดียมที่มากจะทำให้ไตไม่สามารถขับโซเดียมออกไปได้ จนเกิดการสะสมไว้ในเลือด เมื่อมีโซเดียมมากไตจะยิ่งทำงานหนัก ซึ่งผลที่ตามมา คือ ไตจะเกิดความดันสูงขึ้นจนเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และนำพาไปสู่ภาวะไตเสื่อมในที่สุด พูดมาถึงจุดนี้หลายคนอาจจะพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูงจำพวกน้ำปลา และเกลือ แต่ในความเป็นจริงแล้วโซเดียมยังอยู่ในอาหารอีกหลายรูปแบบ ได้แก่
เครื่องปรุงรส เช่น ซอสพริก, ซอสมะเขือเทศ หรือน้ำจิ้มสุกี้
อาหารแปรรูป เช่น เบคอน, แฮม, ผักกาดดอง, ผลไม้กระป๋อง และไข่เค็ม
อาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารกระป๋อง, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
การจัดการโภชนาการอาหารในแต่ละวัน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยที่จะเข้ามาเบียดเบียน และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือการตรวจสุขภาพไตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรู้เท่าทันโรคไตที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวนั่นเอง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เพราะเหตุใด ผู้ป่วยโรคไต ถึงไม่ควรบริโภคมะเฟือง