นิ่วในไต (Kidney Stones) เป็นหนึ่งในนิ่วที่เกิดจากแร่ธาตุ หรือวัตถุที่เกิดการตกตะกอนของสาร แล้วมีการรวมกันเป็นก้อน มักเกิดขึ้นที่บริเวณไต สามารถพบได้ที่ทางเดินปัสสาวะ ถ้าหากปล่อยไว้อาจเกิดเป็นก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่ไปปิดกั้น และก่อให้เกิดบาดแผลภายในท่อไต จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดทรมานจากการปัสสาวะได้
เกิดจากการตกตะกอน และตกผลึกของหินปูนหรือเกลือแร่ในปัสสาวะ โดยมีปริมาณของก้อนแร่ธาตุ หรือสารมากเกินกว่าที่ของเหลวภายในปัสสาวะจะทำการละลายได้ จนเกิดการเกาะตัวกันและกลายเป็นนิ่ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการกินอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมหรือโปรตีนสูง, การรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามินบางชนิด รวมไปถึงการดื่มน้ำน้อยในแต่ละวัน และการติดเชื้อภายในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
เพศชายจะเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตมากกว่าเพศหญิง
ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
รับประทานอาหารเสริมและวิตามินบางชนิด, อาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง
การดื่มน้ำน้อยในแต่ละวัน
ความผิดปกติของโครงสร้างภายในไต
ปวดเป็นช่วง ๆ บริเวณข้างลำตัวหรือบริเวณหลัง
ขณะปัสสาวะจะมีสีขุ่นหรือเลือดปนออกมา อาจมีสีน้ำตาลหรือชมพู
คลื่นไส้, อาเจียน
มีไข้, หนาวสั่น
มีอาการปัสสาวะบ่อย และเจ็บปวดขณะปัสสาวะ
ปัสสาวะแสบขัด และรู้สึกว่าน้อยกว่าปกติ
นิ่วแคลเซียม (Calcium Stones)
นิ่วชนิดนี้จะพบได้บ่อยที่สุดของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากแคลเซียมที่รวมกับออกซาเลต และฟอสเฟต แล้วตกตะกอนกลายเป็นก้อนนิ่ว
นิ่วสตรูไวท์ (Struvite Stones)
เกิดจากการรวมตัวของฟอสเฟต, แมกนีเซียม และแอมโมเนียม สามารถพบได้จากการเอกซเรย์ หากขนาดใหญ่จะมีลักษณะคล้ายเขากวาง ซึ่งมักพบได้กับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อภายในระบบทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
นิ่วกรดยูริก (Uric Acid Stones)
พบได้ในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์, สัตว์ปีก เป็นต้น แต่มีอีกสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดนิ่วชนิดนี้ขึ้นได้ เช่น การดื่มน้ำหรือรับประทานผลไม้น้อย ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจส่งผลให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดสูง นิ่วชนิดนี้จะไม่สามารถพบได้จากการเอกซเรย์ภาพแบบธรรมดา
นิ่วซิสทีน (Cystine Stones)
เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมในการดูดซึมสารซิสทีน ทำให้มีสารนี้ภายในปัสสาวะเยอะ และก่อให้เกิดนิ่วขึ้น
นิ่วที่เกิดจากยา (Drug-induced stones)
เกิดจากการรับประทานยาที่ก่อให้เกิดนิ่ว เช่น ไกวเฟนิซิน, ไตรแอมเทอรีน, กลุ่มยาซัลฟา และอะทาซานาวีร์ เป็นต้น
ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นนิ่วซิสทีนมาก่อน
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน, โรคไต, ภาวะอ้วน หรือภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น
ผู้ที่มีภาวะยูริกภายในปัสสาวะสูง
ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในทางเดินปัสสาวะ
ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม
ผู้ที่รับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์, วิตามินซี หรือยาลดความดัน เป็นต้น
การตรวจเลือด สามารถบ่งบอกได้ถึงสุขภาพไตของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้ อาจรวมไปถึงการตรวจวัดระดับของสารที่อาจก่อให้เกิดนิ่วขึ้น
การส่งตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีเม็ดเลือดแดงปนอยู่ภายในปัสสาวะหรือไม่
อัลตราซาวด์ เป็นวิธีการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง แต่นิ่วในไตบางชนิดอาจใช้วิธีนี้ตรวจหาไม่พบ แพทย์อาจพิจารณาการใช้วิธีวินิจฉัยอื่นร่วมด้วย
การเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี เป็นการฉีดสีผ่านทางเส้นเลือดดำ และจะถูกขับออกทางไตผ่านการปัสสาวะ วิธีนี้จะมีข้อจำกัด คือตรวจได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือผู้สูงอายุ
การรักษาด้วยยา เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นนิ่วขนาดเล็ก
การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกจากภายนอก คือ การใช้คลื่นกระแทกจากภายนอกเพื่อสลายนิ่วให้มีขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง แต่วิธีการรักษาชนิดนี้จะมีอัตราความสำเร็จในการสลายนิ่วที่ต่ำ
การส่องกล้องเพื่อสลายนิ่วผ่านแผลที่ทำการเจาะผิวหนัง เป็นการส่องกล้องเข้าไปภายในไตผ่านทางแผลขนาดเล็กที่ผิวหนัง เพื่อนำอุปกรณ์ที่สลายนิ่วเข้าไปภายในไตได้โดยตรง
การส่องกล้องขนาดเล็กผ่านท่อไต เป็นการใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าผ่านท่อไต เพื่อสลายนิ่วด้วยเลเซอร์โดยตรง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพราะมีอัตราความสำเร็จที่สูง และไม่มีแผลนอกร่างกายกับใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
การผ่าตัด เป็นการเปิดไตและนำนิ่วออกมา เหมาะกับนิ่วขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีการรักษานี้จะใช้เวลาในการพักฟื้นนาน และมีแผลผ่าตัดที่ใหญ่
รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดให้ครบถ้วน
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยควรดื่มอย่างน้อยวันละ 2.5 ลิตร หรือตามที่แพทย์แนะนำ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตและกรดยูริกสูง เช่น ช็อกโกแลต, น้ำชา, หน่อไม้, เครื่องในสัตว์, ปลาซาร์ดีน, กะปิ เป็นต้น
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สังเกตอาการผิดปกติหรือสีของปัสสาวะเสมอ หากมีสีขุ่น, สีแดง หรือนิ่วปนออกมา ควรรีบเข้ามาพบแพทย์โดยด่วน
การรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเสมอ
นิ่วในไต เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มีความน่ากลัวอย่างมาก เพราะหากเป็นนิ่วในไตแล้ว ผู้ป่วยอาจได้รับประสบการณ์การปัสสาวะที่ทรมานได้ ควรป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากท่านใดมีอาการเข้าข่ายเสี่ยงเป็นนิ่วในไต ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยด่วน หากเกิดอะไรขึ้นจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะจะทำให้มีโอกาสหายจากโรคสูง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง