วัยทอง, วัยหมดประจำเดือน หรือวัยหมดระดู (Menopause) เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เหล่าสตรีทุกท่านน่าจะมีความกังวลเป็นพิเศษ เพราะเป็นวัย หรือช่วงอายุที่ร่างกาย และอารมณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังเป็นช่วงสิ้นสุดของวัยเจริญพันธุ์อีกด้วย โดยวัยทองจะเกิดขึ้น ณ ช่วงประมาณอายุระหว่าง 40-55 ปี
เกิดจากร่างกายที่ไม่มีการตกไข่ เนื่องจากรังไข่ไม่มีการทำงาน และหยุดผลิตฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนแล้ว
โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
พบประวัติบุคคลในครอบครัวมีการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม X
การผ่าตัดเอารังไข่ออก, ผ่าตัดเชิงกราน หรือการใช้รังสี และเคมีบำบัดในการรักษาเชิงกราน
มีการใช้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
การสูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์
มีอาการร้อนวูบวาบ, ใจสั่น, เหนื่อยง่าย
ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยจะมาแบบห่าง หรือไม่สม่ำเสมอ
มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น หลับยาก แต่ตื่นเช้า เป็นต้น
ความต้องการทางเพศลดลง, ช่องคลอดแห้ง และรู้สึกเจ็บหากมีเพศสัมพันธ์
อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, หลงลืม, วิตกกังวล เป็นต้น
ปวดปัสสาวะบ่อย, กลั้นไม่ค่อยอยู่
วัยทอง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะก่อนหมดประจำเดือน
เริ่มต้นจากอาการประจำเดือนมาผิดปกติ, รู้สึกร้อนวูบวาบ, อ่อนเพลีย หรือปวดศีรษะ และมีอารมณ์แปรปรวน
ระยะหมดประจำเดือน
ระยะนี้จะเกิดขึ้น หากสตรีมีอาการหมดประจำเดือนมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว
ระยะหลังหมดประจำเดือน
มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพิ่มเติม เช่น กระดูกพรุน, ช่องคลอดมีการตีบแคบ, หัวใจ และหลอดเลือด นอกจากนี้ อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาได้
ซักถามประวัติ และสอบถามถึงประจำเดือน ว่ามาครั้งล่าสุดเมื่อไร และขาดไปตอนไหน เป็นต้น
การตรวจมะเร็งปากมดลูก, ตรวจภายใน
การตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนในร่างกายของผู้ป่วย
การใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อลดอาการหลังหมดประจำเดือน มีอยู่ 2 แบบ คือ การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรนสำหรับผู้ที่มีมดลูก และการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว สำหรับผู้ที่นำมดลูกออกไปแล้ว
การใช้ยารักษาตามอาการ เช่น การให้ยาคลายความเครียดหากผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวล หรือให้ยาแก้ปวดหากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ หรือศีรษะ
การรักษาโดยใช้วิธีการแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็มที่อาจจะช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ และปัญหาอารมณ์แปรปรวน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก, ระดับน้ำตาล หรือไขมัน และการตรวจฮอร์โมนเพศในเลือด เป็นต้น
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เน้นอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง และไขมันต่ำ
เสริมแคลเซียมกับวิตามินดี แต่ถ้าหากผู้ป่วยเป็นโรคไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
หากิจกรรมคลายความเครียด, พักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 30 นาที
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
หากมีปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์กับคู่สมรส ควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาชีวิตคู่
วัยทอง ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และเป็นเรื่องธรรมชาติที่สุภาพสตรีทุกท่านต้องเจอเมื่อถึงช่วงอายุนั้น วัยทองไม่ได้เกิดกับสตรีเพียงอย่างเดียว ผู้ชายสามารถเป็นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น ควรเตรียมตัวรับมือให้พร้อม หากเกิดอะไรขึ้นจะได้ไม่ตื่นตระหนก หากท่านใดที่พบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องวัยทอง ให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับฟังแนวทาง คำแนะนำ และแนวทางการรับมือกับวัยทอง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง