มะเร็งช่องปาก หรือ Oral Cancer เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยโรคนี้อาจส่งผลให้คุณภาพและการใช้ชีวิตแย่ลงได้ ซึ่งถ้าหากมีแผลเกิดขึ้นภายในช่องปาก แล้วไม่ได้ติดตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ผนวกกับการปล่อยปละละเลยและไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที แผลที่เห็นนั้นอาจจะเป็นมะเร็งช่องปากได้
พันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งช่องปาก อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจทำให้เยื่อบุภายในช่องปาก เกิดการระคายเคืองและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์คู่กับการสูบบุหรี่
การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) เพราะ HPV บางสายพันธุ์อาจมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งในช่องปาก
การระคายเคืองเรื้อรังภายในช่องปาก เช่น การใส่ฟันปลอมไม่พอดี ฟันแตก บิ่น หรือมีการอักเสบเรื้อรังภายในช่องปาก เป็นต้น
ขาดสารอาหาร เช่น วิตามินเอ, ซี หรืออี อาจส่งผลให้ผู้ป่วยขาดภูมิคุ้มกันได้
เกิดแผลภายในช่องปากคล้ายร้อนใน และไม่หายภายใน 2 - 3 สัปดาห์
เจ็บปวด, ชา หรือมีเลือดไหลออกจากช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีก้อนเนื้อ, ก้อนบวมโต หรือแผลนูนภายในช่องปากและลำคอ
การเคี้ยวอาหารและกลืนน้ำลายลำบากมากขึ้น
น้ำหนักลดลงแบบผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
ระยะที่ 1 ก้อนขนาดเล็ก ยังไม่พบการลุกลามในระยะนี้
ระยะที่ 2 มะเร็งมีการลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง
ระยะที่ 3 ก้อนมีขนาดใหญ่มากขึ้น และยังคงมีการลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่คอด้วย
ระยะที่ 4 เกิดการลุกลามไปยังบริเวณอวัยวะใกล้เคียง และต่อมน้ำเหลืองมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโต หรือโรคอาจมีการแพร่ไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก, ตับ และปอด เป็นต้น
ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งช่องปาก
ผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป
ผู้ที่เป็นภาวะทุพโภชนาการ
ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องอยู่กลางแจ้ง หรือมีการสัมผัสกับแดดโดยไม่มีการป้องกัน
การเข้ารับการตรวจร่างกายเบื้องต้น
การตัดชิ้นเนื้อบางส่วน และนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะดูดด้วยเข็มเล็ก จะคล้ายกับการตรวจเลือด โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กดึงตัวอย่างเซลล์และของเหลวออกมาจากก้อน เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
การส่องกล้องตรวจภายในโพรงจมูก เมื่อมีเซลล์ต้องสงสัยที่บริเวณคอ, จมูก
การส่องกล้องตรวจกล่องเสียง แพทย์จะสอดกล้องที่มีความยืดหยุ่นเข้าไปในช่องปากหรือจมูก เพื่อตรวจดูบริเวณหลังโพรงจมูกและกล่องเสียง
การตรวจภาพทางรังสี เช่น MRI, X-ray และ CT-Scan เป็นต้น
การผ่าตัด เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งออก มักใช้วิธีนี้ขณะที่มะเร็งยังอยู่ในระยะที่ 1, 2 และเริ่มต้นเข้าระยะที่ 3
รังสีรักษา อาจเป็นการรักษาโดยใช้รังสีเพียงอย่างเดียว หรือการใช้รังสีร่วมกับการผ่าตัด และเคมีบำบัด โดยถ้ามีการฉายรังสีติดต่อกัน 5 วัน วันละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 - 7 สัปดาห์ แพทย์อาจพิจารณาใช้การรักษาทางรังสีโดยใส่แร่ แต่จะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
เคมีบำบัด มักใช้ร่วมกับการผ่าตัด และการฉายรังสี วิธีนี้จะใช้ในผู้ป่วยรายที่ไม่สามารถผ่าตัด หรือการใช้รังสีรักษาได้ ซึ่งมักใช้เคมีบำบัดในกรณีที่ต้องการรักษาแบบประคับประคอง
การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง เพื่อยับยั้งการทำงานของโปรตีนในเซลล์มะเร็ง การรักษาวิธีนี้สามารถใช้ควบคู่ไปกับการใช้รังสีรักษา หรือเคมีบำบัดได้
งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
หากเกิดแผลเรื้อรังที่ผิดปกติขึ้นภายในช่องปาก ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที
เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
มะเร็งช่องปาก เป็นอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่เราสามารถป้องกันได้ โดยการดูแลใส่ใจสุขภาพช่องปากให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค พร้อมเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์สม่ำเสมอ หากท่านใดพบอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป