มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) คือ โรคที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ หรือท่อนําไข่ อาจเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง หลังจากนั้นเซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโตขึ้น ขนาดใหญ่ และแพร่กระจายไปตามเยื่อบุช่องท้อง ทางเดินนํ้าเหลือง กระแสโลหิต รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุ้งเชิงกราน ปอด ตับ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย
มีประวัติสมาชิกภายในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง
ปัจจัยด้านอายุ เช่น ประจำเดือนมาครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี และมีประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี เป็นต้น
มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือมีบุตรยาก
ได้รับฮอร์โมนทดแทน
การสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่บางชนิด
มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางนรีเวช เช่น มะเร็งเต้านม เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น
เบื่ออาหาร, อิ่มเร็ว
คลื่นไส้, อาเจียน, น้ำหนักตัวลดลง
ท้องอืด, บวม, อาหารไม่ย่อย
มีอาการท้องเสียสลับท้องผูก
ปวดท้องน้อยหรือปวดในอุ้งเชิงกราน
คลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อย
ปัสสาวะบ่อย
มีเลือดออกทางช่องคลอด
ระยะที่ 1 พบเซลล์มะเร็งกระจายอยู่บริเวณรังไข่ หรือท่อนำไข่ โดยที่ยังไม่มีการลุกลามออกไปที่อวัยวะส่วนอื่น โดยในระยะนี้หากมีการตรวจพบ แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อรักษาทันที
ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งมีการกระจายไปยังบริเวณอุ้งเชิงกราน และเนื้อเยื่อรอบ ๆ รังไข่ ในระยะนี้จะยังไม่มีอาการใดแสดงออกมา
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายไปยังบริเวณเยื่อบุช่องท้อง และต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง สามารถสังเกตได้เพราะหน้าท้องจะมีการขยายใหญ่ขึ้นผิดปกติ
ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งมีการกระจายออกไปสู่อวัยวะอื่น เช่น ตับหรือปอด อย่างรวดเร็ว
แพทย์จะซักประวัติสอบถามอาการ รวมทั้งบุคคลในครอบครัว หลังจากนั้นจะทำการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การตรวจภายในช่องคลอด เพื่อดูขนาดของรังไข่ และของเหลวที่อาจจะอยู่ภายในท้อง
ตรวจโลหิต เพื่อหาค่าบ่งชี้มะเร็งรังไข่ หรือวัดปริมาณสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น ฮอร์โมน HCG และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
การตรวจหาความผิดปกติของพันธุกรรม โดยใช้ตัวอย่างเลือดเพื่อหาการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 และ BRCA2
การตัดชิ้นเนื้อ เป็นการตัดเนื้องอกระหว่างผ่าตัด หลังจากนั้นจะนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่
การตรวจด้วยรังสี เช่น การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อดูการแพร่กระจายของโรค
การส่องกล้องแลปพาโรสโคป เพื่อตรวจหาเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกราน หลังจากนั้นจะมีการเก็บตัวอย่างเนื้องอก เพื่อนำไปวินิจฉัย
รักษาโดยการใช้ยา เช่น ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) จะออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งตาย
เคมีบำบัด เป็นการกำจัดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 3
การฉายรังสี เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในรังไข่ เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
การผ่าตัด เป็นการตัดเซลล์มะเร็งบริเวณรังไข่, ปีกมดลูก หรืออวัยวะข้างเคียงออก ถ้าหากมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณนั้น เช่น ต่อมน้ำเหลือง มดลูก เป็นต้น
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จากวัตถุดิบและกรรมวิธีที่ปลอดภัยจากการเกิดมะเร็ง
ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมต่าง ๆ โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด
ควรเข้ารับการตรวจภายในและพบสูตินรีแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ เพราะมะเร็งรังไข่ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใดออกมา
มะเร็งรังไข่ เป็นอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่คุณสุภาพสตรีทุกท่านควรระวังไว้ เพราะความอันตรายของโรคนี้ คือ จะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาในช่วงระยะแรก หากรู้ตัวอีกทีอาจจะมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่อวัยวะอื่นแล้ว โดยวิธีป้องกัน คือ การเข้ารับการตรวจภายในกับสูตินรีแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี หากพบเซลล์มะเร็งในระยะแรก จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง