แพนิค โรคตื่นตระหนก
แพนิค โรคตื่นตระหนกกระทบสภาพจิตใจ

แพนิค (Panic Disorder) คือ โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมักจะวิตกกังวล ตกใจ กลัวกับสถานการณ์ที่ยังไม่ได้เผชิญหรือเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือรุนแรง ส่งผลต่อการดำเนินวิถีชีวิตประจำวันเพราะไม่สามารถควบคุมตนเองให้เป็นปกติได้ โดยเฉพาะกิจกรรมบางอย่าง เช่น ข้ามถนน ขับขี่ยานพาหนะ ใช้ลิฟต์ เป็นต้น ผู้ป่วยหลายรายรู้สึกเป็นทุกข์ใจ เริ่มปลีกตัวออกมาอยู่คนเดียว ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตที่ผิดปกติซึ่งจะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าต่อมาได้

 

 

สาเหตุของโรคแพนิค

 

โรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่ามีหลายปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่

 

ทางกายภาพ

 

  • สมองส่วนควบคุมความกลัวทำงานผิดปกติ

 

  • กรรมพันธุ์

 

  • การใช้สารเสพติด

 

  • เสียสมดุลของสารเคมีในสมองจากฮอร์โมนผิดปกติ

 

  • ได้รับสารเคมีบางชนิด

 

ทางจิต

 

 

  • ความเครียดบางอย่าง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องห่างจากบ้านหรือครอบครัวเพื่อมาทำงานหรือศึกษาต่อ หรือพ่อแม่ที่เพิ่งมีบุตรคนแรก

 

 

ถูกสามีทำร้าย

 

 

อาการแพนิค

 

  • ใจสั่น

 

  • หัวใจเต้นแรง

 

  • แน่นหน้าอก

 

  • หายใจไม่สะดวก

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

  • มวนท้อง

 

  • มือเท้าเย็น

 

  • กล้ามเนื้อเกร็ง

 

  • อุณหภูมิในร่างกายสูง

 

  • เหงื่อออก

 

  • มีความคิดที่ว่าตนเองกำลังจะเสียชีวิต

 

อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นทันทีหากมีสถานการณ์ที่มากระตุ้น เป็นระยะเวลา 10-60 นาที แล้วแต่บุคคล หลังจากนั้นจะค่อย ๆ สงบลง

 

 

อาการแพนิคกำเริบ

 

 

การรักษาแพนิค

 

ใช้ยา

 

  • ยากล่อมประสาท หรือยาคลายกังวล ที่สามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว หากใช้ไปในระยะเวลานานจะเกิดการเสพติดได้

 

  • ยาในกลุ่มที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า สามารถออกฤทธิ์ได้ช้า ไม่ทำให้เกิดการเสพติด

 

ในขั้นแรกแพทย์จ่ายยาทั้งให้ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม แต่ถ้าอาการหายสนิทลงแล้ว จะยังคงใช้ยาที่ไม่ก่อให้เกิดการเสพติด ต่อไปอีก 8-12 เดือน

 

จิตบำบัด

 

  • ปรับแนวคิดในพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย

 

  • พูดให้กำลังใจ

 

  • ไม่กลั่นแกล้งหรือแสดงออกในสิ่งที่กระตุ้นต่ออาการแพนิคของผู้ป่วย

 

 

คนรอบข้างให้กำลังใจผู้ป่วยแพนิค

 

 

เป็นแพนิคต้องทำอย่างไร

 

  • หายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ

 

  • ทำใจให้สบาย ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับรอบตัว บอกกับตนเองว่าอาการผิดปกตินี้ไม่นานก็จะหายไป

 

  • พกยาติดตัวไว้เสมอ

 

  • หากิจกรรมที่ทำแล้วผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ รับชมภาพยนตร์ และออกกำลังกาย เป็นต้น

 

  • หลีกเลี่ยงการเสพติดโซเชียลมีเดียผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นระยะเวลานาน ๆ

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 

  • งดบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์คาเฟอีน

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

บทความนี้เป็นเพียงสื่อที่เผยแพร่ความรู้ ว่าโรคตื่นตระหนกนี้มีอยู่จริง ผู้ป่วยไม่ได้แสดงแต่อย่างใด เมื่อผู้อ่านได้รับทราบแล้วควรทำความเข้าใจและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง หากมีบุคคลใกล้ชิดเป็นแพนิค ทั้งนี้ผู้ป่วยควรเข้าพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี โดยใช้ระยะเวลาเป็นตัวช่วย ไม่ต้องรีบเร่งให้อาการบรรเทาลงในระยะเวลาอันสั้น ควรหมั่นฝึกฝนวิธีการปรับแนวความคิดที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถเอาชนะโรคนี้ได้ในที่สุด

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โรควิตกกังวล ทำความเข้าใจเพื่อลดความเสี่ยง